เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

20

1. อินทริเยสุ คุตตทวารตา (ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์)
2. โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค)1

21

1. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
2. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)2

22

1. สติพละ (กำลังคือสติ)
2. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)3

23

1. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
2. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)4

24

1. สมถนิมิต (นิมิตแห่งสมถะ)
2. ปัคคหนิมิต (นิมิตแห่งความเพียร)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/170/127
2 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/171/127
3 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/172/127
4 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/173/127

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :256 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

25
1. ปัคคหะ (ความเพียร)
2. อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)

26

1. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
2. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)1

27

1. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล)
2. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)2

28

1. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล)
2. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)3

29

1. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
2. ยถาทิฏฐิปธานะ (ความเพียรที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ)4

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/174/128
2 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/175/128
3 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/176/128
4 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/177/128

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :257 }