เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

ธรรมหมวดละ 2 ประการ คืออะไร
คือ
1
1. นาม1
2. รูป2

2

1. อวิชชา3 (ความไม่รู้แจ้ง)
2. ภวตัณหา4 (ความทะยานอยากในภพ)

3

1. ภวทิฏฐิ5 (ความเห็นเนื่องด้วยภพ)
2. วิภวทิฏฐิ6 (ความเห็นเนื่องด้วยวิภพ)

เชิงอรรถ :
1 นาม หมายถึงอรูปขันธ์ 4 คือ (1) เวทนาขันธ์ (2) สัญญาขันธ์ (3) สังขารขันธ์ (4) วิญญาณขันธ์ และ
นิพพาน (ที.ปา.อ. 304/170-171) และดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/90/107, อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1316-
1317/330
2 รูป หมายถึงมหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 (คืออุปาทายรูป 24)(ที.ปา.อ.304/171)
และดูเทียบ อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1316-1317/330
3 อวิชชา หมายถึงความไม่รู้แจ้งในสัจจะ 4 มีทุกข์ เป็นต้น (ที.ปา.อ. 304/171)
4 ภวตัณหา หมายถึงความปรารถนาภพ (ที.ปา.อ. 304/171) และดูเทียบข้อ 352 หน้า 370 ในเล่มนี้
5 ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง (ที.ปา.อ. 304/171) และดูเทียบ องฺ.ทุก.
(แปล) 20/92/108, อภิ.วิ. (แปล) 35/896/562
6 วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกขาดสูญ (ที.ปา.อ. 304/171)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :252 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

4

1. อหิริกะ (ความไม่อายบาป)
2. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)1

5

1. หิริ (ความอายบาป)
2. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)2

6

1. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
2. ปาปมิตตตา (ความมีปาปมิตร)3

7

1. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย)
2. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร)4

8

1. อาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ)
2. อาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ)5

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/900/563
2 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/94/108
3 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/95/108, อภิ.วิ. (แปล) 35/901/564
4 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/96/108
5 ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/98/109

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :253 }