เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ 1 ประการ คืออะไร
คือ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยสังขาร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ 1 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด 1 จบ

สังคีติหมวด 2

[304] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ 2 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้
พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :251 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 2

ธรรมหมวดละ 2 ประการ คืออะไร
คือ
1
1. นาม1
2. รูป2

2

1. อวิชชา3 (ความไม่รู้แจ้ง)
2. ภวตัณหา4 (ความทะยานอยากในภพ)

3

1. ภวทิฏฐิ5 (ความเห็นเนื่องด้วยภพ)
2. วิภวทิฏฐิ6 (ความเห็นเนื่องด้วยวิภพ)

เชิงอรรถ :
1 นาม หมายถึงอรูปขันธ์ 4 คือ (1) เวทนาขันธ์ (2) สัญญาขันธ์ (3) สังขารขันธ์ (4) วิญญาณขันธ์ และ
นิพพาน (ที.ปา.อ. 304/170-171) และดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) 20/90/107, อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1316-
1317/330
2 รูป หมายถึงมหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 (คืออุปาทายรูป 24)(ที.ปา.อ.304/171)
และดูเทียบ อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1316-1317/330
3 อวิชชา หมายถึงความไม่รู้แจ้งในสัจจะ 4 มีทุกข์ เป็นต้น (ที.ปา.อ. 304/171)
4 ภวตัณหา หมายถึงความปรารถนาภพ (ที.ปา.อ. 304/171) และดูเทียบข้อ 352 หน้า 370 ในเล่มนี้
5 ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง (ที.ปา.อ. 304/171) และดูเทียบ องฺ.ทุก.
(แปล) 20/92/108, อภิ.วิ. (แปล) 35/896/562
6 วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกขาดสูญ (ที.ปา.อ. 304/171)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :252 }