เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องอิทธิปาฎิหาริย์

ลำพองตัวว่าเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่า
มันจึงร้องเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้นขึ้น
สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทรามเป็นใคร
และการบันลืออย่างราชสีห์เกิดผลเป็นอย่างไร
ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหาร
ที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าควร
ท้าทายได้ ถามว่า ปาฏิกบุตรผู้ต่ำทรามเป็นใคร และการท้าทายพระตถาคตผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดผลเป็นอย่างไร
[32] ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะ ไม่อาจที่จะให้
นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรลุกจากที่นั่งนั้นได้ แม้ด้วยข้ออุปมานี้ จึงกลับมาหา
บริษัทนั้น แล้วบอกว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรนี้แพ้แล้ว
แต่ยังกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ ณ ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้’
[33] ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะกล่าวอย่างนี้
เราจึงได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่
ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้
แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น
ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’ แม้เจ้า
ลิจฉวีผู้เจริญทั้งหลายจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พวกเราจะเอาเชือกมัดนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
แล้วใช้โคหลาย ๆ คู่ฉุดมา’ เชือกนั้นก็จะขาด หรือไม่กายของนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
ก็จะขาด แต่ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความ
เห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละ
วาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’
ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
[34] ภัคควะ ต่อจากนั้น เราจึงชี้แจงให้บริษัทนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยาก
รับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ครั้นชี้แจงให้บริษัทนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :25 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องอิทธิปาฎิหาริย์

อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงเปลื้องให้
พ้นจากเครื่องผูกใหญ่1 ยกสัตว์ประมาณ 84,000 ขึ้นจากห้วงน้ำใหญ่ที่ข้ามได้ยาก2
เข้าเตโชธาตุ เหาะขึ้นสู่อากาศสูงประมาณ 7 ชั่วลำตาล เนรมิตไฟอื่นให้ลุกโพลง
ประมาณ 7 ชั่วลำตาล มีควันตลบสูงแล้ว จึงมายังกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
[35] ภัคควะ ครั้งนั้น สุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เรา
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร เราจึงได้กล่าวกับสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ดังนี้ว่า ‘สุนักขัตตะ
เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เราปรารภนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร แล้วพยากรณ์
แก่เธอไว้อย่างไร ผลของการพยากรณ์เป็นอย่างนั้นหรือ หรือว่าเป็นอย่างอื่น’
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงปรารภนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
แล้วพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ไว้อย่างไร ผลของการพยากรณ์เป็นอย่างนั้น มิได้เป็น
อย่างอื่นเลย’
‘สุนักขัตตะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้น เราได้แสดงอิทธิ-
ปาฏิหาริย์อันเหนือธรรมดาของมนุษย์แล้ว หรือยังไม่ได้แสดง’
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อัน
เหนือธรรมดาของมนุษย์แล้วแน่นอน มิใช่ไม่ได้ทรงแสดง’
‘โมฆบุรุษ ถึงอย่างนี้ เธอยังจะกล่าวกับเราผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเหนือ
ธรรมดาของมนุษย์ว่า ‘พระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเหนือธรรมดา

เชิงอรรถ :
1 เครื่องผูกใหญ่ ในที่นี้หมายถึงกิเลสตัณหา หรือ สังโยชน์ 10 ประการ คือ (1) สักกายทิฏฐิ (ความเห็น
ว่าเป็นตัวของตน) (2) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (3) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
(4) กามราคะ (ความพอใจในกาม) (5) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่ง) (6) รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่ง
รูปฌาน) (7) อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน) (8) มานะ (ความถือตัว) (9) อุทธัจจะ
(ความฟุ้งซ่าน) (10) อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) (ที.ปา.ฏีกา 34/13)
2 ห้วงน้ำใหญ่ที่ข้ามได้ยาก ในที่นี้หมายถึงโอฆะ 4 ประการ คือ (1) กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) (2) ภโวฆะ
(โอฆะคือภพ) (3) ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) (4) อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) (ที.ปา.อ. 34/14)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :26 }