เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [9. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ 2

[292] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏา-
นาฏิยะนั้น เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้เรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้จนจบครบบริบูรณ์แล้ว หากว่า
อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์
บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตร
คนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของ
คนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์
มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่า
จะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค
ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา
ผู้กำลังเดินไป ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้นอนอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ หรือความเคารพ ในหมู่
บ้านหรือในนิคมของข้าพระพุทธเจ้า ไม่พึงได้พื้นที่บ้าน หรือที่อยู่ในราชธานีชื่อว่า
อาฬกมันทาของข้าพระพุทธเจ้า ไม่อาจเข้าสมาคมของพวกยักษ์ของข้าพระพุทธเจ้า
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคลกับ
อมนุษย์นั้น
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายด่าอมนุษย์นั้นด้วยคำด่าที่ตรงตัวเต็มปาก
เต็มคำ
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงเอาบาตรเปล่าครอบศีรษะอมนุษย์นั้น
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออกเป็น 7 เสี่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :243 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [9. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ 2

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ
อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช
ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น
เรียกว่า เป็นศัตรูของท้าวมหาราช เหมือนมหาโจรทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระราชา
ผู้ครองแคว้นมคธ มหาโจรเหล่านั้นไม่เชื่อฟังพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟัง
เสนาบดีของพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของพระราชา
ผู้ครองแคว้นมคธ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของ
พระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ฉันใด มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ
อมนุษย์เหล่านั้น ไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟัง
ผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า
เป็นศัตรูของท้าวมหาราช ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์
ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น
คนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์
บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์
บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์ มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์
ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค
มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย
เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้กำลังเดินอยู่ ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่
หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นอนอยู่ พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์
ร้องเรียนต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง
ยักษ์นี้เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้
ไม่ยอมปล่อย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :244 }