เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องอิทธิปาฎิหาริย์

[30] ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะ ไม่อาจที่จะให้
นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรลุกจากที่นั่งนั้นได้ แม้ด้วยข้ออุปมานี้ จึงได้กล่าวกับเขา
ดังนี้ว่า
สุนัขจิ้งจอกเห็นเงาของตน
ที่เคลื่อนไหวในน้ำว่าเป็นอย่างอื่น
จึงลำพองตัวว่าเป็นเสือ1
ตราบเท่าที่ยังไม่เห็นตัวเอง (ตามความเป็นจริง)
มันจึงร้องเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น
สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทรามเป็นใคร
และการบันลืออย่างราชสีห์2เกิดผลเป็นอย่างไร
ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหาร
ที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าควร
ท้าทายได้ ถามว่า ปาฏิกบุตรผู้ต่ำทรามเป็นใคร และการท้าทายพระตถาคตผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดผลเป็นอย่างไร
[31] ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะ ไม่อาจที่จะให้
นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรลุกจากที่นั่งนั้นได้ แม้ด้วยข้ออุปมานี้ จึงได้กล่าวกับเขา
ดังนี้ว่า
สุนัขจิ้งจอกกินกบ(ตามบ่อ) กินหนูตามลานข้าว
และกินซากศพที่ทิ้งตามป่าช้า
มีตัวอ้วนพีอยู่ในป่าใหญ่ ป่าโปร่ง

เชิงอรรถ :
1 ลำพองตัวว่าเป็นเสือ ในที่นี้หมายถึงสำคัญตัวเองว่าเป็นเสือที่มีกำลังเท่ากับราชสีห์ (ที.ปา.อ. 30/14)
2 การบันลืออย่างราชสีห์ ในที่นี้หมายถึงการเปล่งเสียงร้องของสุนัขจิ้งจอกโดยเข้าใจว่า ตนมีกำลังเท่ากับ
ราชสีห์ (ที.ปา.อ. 30/14)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :24 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องอิทธิปาฎิหาริย์

ลำพองตัวว่าเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่า
มันจึงร้องเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้นขึ้น
สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทรามเป็นใคร
และการบันลืออย่างราชสีห์เกิดผลเป็นอย่างไร
ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหาร
ที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าควร
ท้าทายได้ ถามว่า ปาฏิกบุตรผู้ต่ำทรามเป็นใคร และการท้าทายพระตถาคตผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดผลเป็นอย่างไร
[32] ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะ ไม่อาจที่จะให้
นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรลุกจากที่นั่งนั้นได้ แม้ด้วยข้ออุปมานี้ จึงกลับมาหา
บริษัทนั้น แล้วบอกว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรนี้แพ้แล้ว
แต่ยังกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ ณ ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้’
[33] ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะกล่าวอย่างนี้
เราจึงได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่
ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้
แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น
ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’ แม้เจ้า
ลิจฉวีผู้เจริญทั้งหลายจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พวกเราจะเอาเชือกมัดนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
แล้วใช้โคหลาย ๆ คู่ฉุดมา’ เชือกนั้นก็จะขาด หรือไม่กายของนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
ก็จะขาด แต่ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความ
เห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละ
วาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’
ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
[34] ภัคควะ ต่อจากนั้น เราจึงชี้แจงให้บริษัทนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยาก
รับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ครั้นชี้แจงให้บริษัทนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :25 }