เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องอิทธิปาฎิหาริย์

3 ครั้ง ครั้นบันลือสีหนาท 3 ครั้งแล้ว จึงออกไปหากิน เรานั้นล่าหมู่เนื้อตัวล่ำสัน
กินเนื้อนุ่ม ๆ แล้วกลับมาซ่อนตัวอยู่ตามเดิม’
ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้น อาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนตัวอยู่ ครั้นซ่อนตัว
อยู่ในป่าทึบนั้นแล้ว ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ครั้นออกจากที่ซ่อนแล้ว บิดกาย
ครั้นบิดกายแล้ว เหลียวดูไปรอบ ๆ ทั้ง 4 ทิศ ครั้นเหลียวดูไปรอบ ๆ ทั้ง 4 ทิศแล้ว
จึงคิดว่า ‘เราจักบันลือสีหนาท’ แต่กลับร้องเสียงสุนัขจิ้งจอกออกมา 3 ครั้ง
ร้องอย่างเสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นเอง สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทรามเป็นใคร และการบันลือ
สีหนาทมีผลเป็นอย่างไร ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบ
พระสุคต1 บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าว่าควรท้าทายได้ ถามว่า ปาฏิกบุตรผู้ต่ำทรามเป็นใคร และการ
ท้าทายพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดผลเป็นอย่างไร
[29] ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะ ไม่อาจที่จะให้
นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรลุกจากที่นั่งนั้นได้ แม้ด้วยข้ออุปมานี้ จึงได้กล่าวกับเขา
ดังนี้ว่า
สุนัขจิ้งจอกสำคัญตนว่าเป็นราชสีห์
จึงได้ลำพองตัวว่าเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่า
มันจึงได้ร้องเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้นขึ้น
สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทรามเป็นใคร
และการบันลืออย่างราชสีห์เกิดผลเป็นอย่างไร
ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหาร
ที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าควร
ท้าทายได้ ถามว่า ปาฏิกบุตรผู้ต่ำทรามเป็นใคร และการท้าทายพระตถาคตผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดผลเป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
1 แบบพระสุคต ในที่นี้หมายถึงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นคำสอนของพระสุคต(ที.ปา.อ.
28/13)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :23 }