เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [9. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ 1

ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงร้องของนกชีวัญชีวกะ
และนกโอฏฐวจิตตกะ มีไก่ป่า
ในสระบัวมีปูทอง และนกชื่อโปกขรสาตกะ
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงนกแก้ว
นกสาลิกา และหมู่นกทัณฑมาณวะ1
สระบัวของท้าวกุเวรนั้น จึงงามตลอดกาลทุกเมื่อ
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศเหนือจากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าท้าวกุเวร
ทรงเป็นหัวหน้าของพวกยักษ์ มียักษ์แวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าวกุเวรจะมีมาก แต่มีพระนามเดียวกัน
คือ ทั้ง 91 องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้น
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด

เชิงอรรถ :
1 นกฑัณฑมาณวะ หมายถึงนกที่มีหน้าเหมือนคนซึ่งชอบนำท่อนไม้สีทองมาวางไว้บนใบบัว (ที.ปา.อ. 281/160)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :228 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [9. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ 1

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ได้สดับเรื่องนั้นมาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนั้น
เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย
[282] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
หรืออุบาสิกา ผู้เรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้จนจบครบบริบูรณ์แล้ว
หากว่าอมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์
ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นางคนธรรพ์
บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้
ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์
มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่า
จะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค
ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :229 }