เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] มิตรมีใจดี

[261] คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดย
เหตุ 4 ประการ คือ
1. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
2. ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
3. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพำนักได้
4. เมื่อมีกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ก็ช่วยโภคทรัพย์ให้ 2 เท่าของทรัพย์ที่
ต้องการในกิจนั้น
คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ 4
ประการนี้แล
[262] คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. บอกความลับแก่เพื่อน
2. ปิดความลับของเพื่อน
3. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย
4. แม้ชีวิตก็อาจจะสละเพื่อประโยชน์ของเพื่อนได้
คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ
4 ประการนี้แล
[263] คหบดีบุตร มิตรแนะนำประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. ห้ามมิให้ทำความชั่ว
2. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
3. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
4. บอกทางสวรรค์ให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :210 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] มิตรมีใจดี

คหบดีบุตร มิตรแนะนำประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ 4
ประการนี้แล
[264] คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดย
เหตุ 4 ประการ คือ
1. ไม่พอใจความเสื่อมของเพื่อน
2. พอใจความเจริญของเพื่อน
3. ห้ามปรามคนที่นินทาเพื่อน
4. สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ 4
ประการนี้แล”
[265] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลที่เป็นมิตรมีใจดี 4 จำพวกนี้ คือ
(1) มิตรมีอุปการะ (2) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
(3) มิตรแนะนำประโยชน์ (4) มิตรมีความรักใคร่
บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว
พึงเข้าไปคบหาโดยความจริงใจ
เหมือนมารดาคบหาบุตรผู้เกิดแต่อกฉะนั้น
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมสว่างโชติช่วงดังดวงไฟ
เมื่อบุคคลสะสมโภคทรัพย์อยู่ดังตัวผึ้งสร้างรัง
โภคทรัพย์ของเขาก็ย่อมเพิ่มพูนขึ้น
ดุจจอมปลวกที่ตัวปลวกก่อขึ้นฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูล ผู้สามารถ
ครั้นรวบรวมโภคทรัพย์ได้อย่างนี้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :211 }