เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] มิตรเทียม

คนชอบนอนหลับในกลางวัน
ไม่ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาประจำ
ไม่สามารถครองเรือนได้
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลย
หนุ่มสาวที่ละทิ้งการงาน
โดยอ้างว่า ‘เวลานี้หนาวเกินไป
เวลานี้ร้อนเกินไป เวลานี้เย็นเกินไป’ เป็นต้น
ส่วนผู้ใดทำหน้าที่ของบุรุษ
ไม่ใส่ใจความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า
ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข

มิตรเทียม

[254] คหบดีบุตร คน 4 จำพวกนี้ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม คือ
1. คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว พึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
2. คนดีแต่พูด พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
3. คนพูดประจบ พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
4. คนที่เป็นเพื่อนชักนำในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม
[255] คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า
ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการ คือ
(1) เป็นผู้ถือเอาประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว
(2) เสียน้อย ปรารถนาจะได้มาก
(3) เมื่อตัวเองมีภัยจึงทำกิจของเพื่อน
(4) คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :207 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] มิตรเทียม

คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อ่านฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการนี้แล
[256] คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่เป็นอดีตไปแล้ว
2. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
3. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
4. เมื่อมีกิจเกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็แสดงความขัดข้อง
คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดย
เหตุ 4 ประการนี้แล
[257] คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. เพื่อนทำชั่ว ก็คล้อยตาม
2. เพื่อนทำดี ก็คล้อยตาม
3. สรรเสริญต่อหน้า
4. นินทาลับหลัง
คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
โดยเหตุ 4 ประการนี้แล
[258] คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :208 }