เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร 6 ประการ

4. มีเสภาที่ไหน (ไปที่นั่น)
5. มีการบรรเลงที่ไหน (ไปที่นั่น)
6. มีเถิดเทิงที่ไหน (ไปที่นั่น)
คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ 6 ประการนี้แล

โทษแห่งการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท 6 ประการ

[251] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. ผู้ชนะย่อมก่อเวร
2. ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
3. เสียทรัพย์ทันตาเห็น
4. ถ้อยคำที่เป็นพยานในศาล ก็เชื่อถือไม่ได้
5. ถูกมิตรอำมาตย์1ดูหมิ่น
6. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายผู้นี้เป็นนักเลง
การพนันไม่สามารถจะเลี้ยงดูภรรยาได้
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ
6 ประการนี้แล

โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร 6 ประการ

[252] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. เขามีนักเลงการพนันเป็นมิตรสหาย
2. เขามีนักเลงเจ้าชู้เป็นมิตรสหาย
3. เขามีนักเลงเหล้าเป็นมิตรสหาย

เชิงอรรถ :
1 มิตรอำมาตย์ แยกอธิบายได้ดังนี้ มิตร ในที่นี้หมายถึงคนที่สามารถใช้สอยสิ่งของในบ้านเรือนของกัน
และกันได้ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงเพื่อนร่วมงาน (สํ.ม.อ. 3/1012/367)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :204 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งความเกียจคร้าน 6 ประการ

4. เขามีคนหลอกลวงเป็นมิตรสหาย
5. เขามีคนโกงเป็นมิตรสหาย
6. เขามีโจรเป็นมิตรสหาย
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ 6 ประการนี้แล

โทษแห่งความเกียจคร้าน 6 ประการ

[253] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. มักอ้างว่า ‘หนาวเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
2. มักอ้างว่า ‘ร้อนเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
3. มักอ้างว่า ‘เวลาเย็นเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
4. มักอ้างว่า ‘เวลายังเช้าเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
5. มักอ้างว่า ‘หิวเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
6. มักอ้างว่า ‘กระหายเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิด
ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ 6 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“เพื่อนในโรงสุราก็มี
เพื่อนดีแต่พูดก็มี
เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น ผู้ใดเป็นเพื่อนได้
ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อนแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :205 }