เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งการเที่ยวดูมหรสพ 6 ประการ

3. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
4. เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง
5. เป็นเหตุให้ไม่รู้จักอาย
6. เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทมีโทษ 6 ประการนี้แล

โทษแห่งการเที่ยวกลางคืน 6 ประการ

[249] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลา
กลางคืนมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตน
2. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา
3. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
4. เป็นที่สงสัย1ของคนอื่นด้วยเหตุต่าง ๆ
5. มักถูกใส่ร้ายด้วยเรื่องไม่เป็นจริง
6. ทำให้เกิดความลำบากมากหลายอย่าง
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน
มีโทษ 6 ประการนี้แล

โทษแห่งการเที่ยวดูมหรสพ 6 ประการ

[250] คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. มีการรำที่ไหน (ไปที่นั่น)
2. มีการขับร้องที่ไหน (ไปที่นั่น)
3. มีการประโคมที่ไหน (ไปที่นั่น)

เชิงอรรถ :
1 เป็นที่สงสัยในที่นี้หมายถึงถูกสงสัยว่าเป็นผู้ทำกรรมชั่วทั้งที่ไม่มีส่วนในกรรมชั่วนั้น (ที.ปา.อ. 249/137)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :203 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร 6 ประการ

4. มีเสภาที่ไหน (ไปที่นั่น)
5. มีการบรรเลงที่ไหน (ไปที่นั่น)
6. มีเถิดเทิงที่ไหน (ไปที่นั่น)
คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ 6 ประการนี้แล

โทษแห่งการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท 6 ประการ

[251] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. ผู้ชนะย่อมก่อเวร
2. ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
3. เสียทรัพย์ทันตาเห็น
4. ถ้อยคำที่เป็นพยานในศาล ก็เชื่อถือไม่ได้
5. ถูกมิตรอำมาตย์1ดูหมิ่น
6. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายผู้นี้เป็นนักเลง
การพนันไม่สามารถจะเลี้ยงดูภรรยาได้
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ
6 ประการนี้แล

โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร 6 ประการ

[252] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. เขามีนักเลงการพนันเป็นมิตรสหาย
2. เขามีนักเลงเจ้าชู้เป็นมิตรสหาย
3. เขามีนักเลงเหล้าเป็นมิตรสหาย

เชิงอรรถ :
1 มิตรอำมาตย์ แยกอธิบายได้ดังนี้ มิตร ในที่นี้หมายถึงคนที่สามารถใช้สอยสิ่งของในบ้านเรือนของกัน
และกันได้ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงเพื่อนร่วมงาน (สํ.ม.อ. 3/1012/367)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :204 }