เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] เหตุ 4 ประการ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ
เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส
บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ”

เหตุ 4 ประการ

[246] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ปุถุชน
1. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ทำบาปกรรม
2. ย่อมถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ทำบาปกรรม
3. ย่อมถึงโมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา) ทำบาปกรรม
4. ย่อมถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ทำบาปกรรม
ส่วนอริยสาวก
1. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ
2. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ
3. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ
4. ย่อมไม่ถึงภยาคติ
อริยสาวกย่อมไม่ทำบาปกรรม โดยเหตุ 4 ประการนี้
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :201 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] โทษแห่งสุราเมรัย 6 ประการ

เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ
เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น”1

อบายมุข 6 ประการ

[247] อริยสาวกไม่ข้องแวะอบายมุข 6 ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อะไรบ้าง
คือ
1. การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
2. การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน เป็น
อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
3. การเที่ยวดูมหรสพ เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
4. การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น
อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
5. การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
6. การหมกมุ่นในความเกียจคร้าน เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย

โทษแห่งสุราเมรัย 6 ประการ

[248] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ 6 ประการนี้ คือ
1. เสียทรัพย์ทันตาเห็น
2. ก่อการทะเลาะวิวาท

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก.(แปล) 21/17-19/29-31

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :202 }