เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] กรรมกิเลส 4

ทิศ 6

[244] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ในอริยวินัย(ธรรมเนียมแบบ
แผนของพระอริยะ) เขาไม่ไหว้ทิศ 6 กันอย่างนี้”
สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอริยวินัย เขาไหว้
ทิศ 6 กันอย่างไร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ ตามวิธีการไหว้ทิศ 6 ในอริยวินัยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส(กรรมเครื่อง
เศร้าหมอง) 4 ประการได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ 4 ประการ และไม่ข้องแวะ
อบายมุข(ทางเสื่อม) 6 ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจาก
บาปกรรม 14 ประการนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ1 6 ปฏิบัติเพื่อครองโลก
ทั้งสอง ทำให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์

กรรมกิเลส 4

[245] กรรมกิเลส 4 ประการที่อริยสาวกละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ
1. กรรมกิเลสคือปาณาติบาต
2. กรรมกิเลสคืออทินนาทาน
3. กรรมกิเลสคือกาเมสุมิจฉาจาร
4. กรรมกิเลสคือมุสาวาท
กรรมกิเลส 4 ประการนี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว”

เชิงอรรถ :
1 ปิดป้องทิศ ในที่นี้หมายถึงปกปิดช่องว่างระหว่างตนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่าทิศ 6 (ที.ปา.ฏีกา
244/159)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :200 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] เหตุ 4 ประการ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ
เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส
บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ”

เหตุ 4 ประการ

[246] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ปุถุชน
1. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ทำบาปกรรม
2. ย่อมถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ทำบาปกรรม
3. ย่อมถึงโมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา) ทำบาปกรรม
4. ย่อมถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ทำบาปกรรม
ส่วนอริยสาวก
1. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ
2. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ
3. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ
4. ย่อมไม่ถึงภยาคติ
อริยสาวกย่อมไม่ทำบาปกรรม โดยเหตุ 4 ประการนี้
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :201 }