เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องอิทธิปาฎิหาริย์

ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี จึงกล่าวกับนักบวชเปลือยปาฏิกบุตรดังนี้ว่า
‘ท่านปาฏิกบุตร ท่านเป็นอะไรไปเล่า ตะโพกของท่านติดกับตั่งหรือ หรือว่าตั่ง
ติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’ แต่กลับซบศีรษะอยู่ ณ ที่นั้นเอง
ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้’ ภัคควะ นักบวชเปลือยปาฏิกบุตร แม้ถูกมหาอำมาตย์ของ
เจ้าลิจฉวีเมื่อต่อว่าอยู่อย่างนี้ ก็ยังกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ ณ ที่
นั้นเอง ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้
[25] ภัคควะ เมื่อมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีนั้นได้ทราบว่า ‘นักบวชเปลือย
ปาฏิกบุตรนี้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ ณ ที่นั้นเอง
ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้’ จึงกลับมาหาบริษัทนั้นแล้วบอกอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรนี้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’ แล้วก็ซบศีรษะอยู่
ณ ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้’
ภัคควะ เมื่อมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีนั้นกล่าวอย่างนี้ เราจึงได้กล่าวกับ
บริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละ
ความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิด
อย่างนี้ว่า ‘ถึงเราจะไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไป
เผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’ แม้เจ้าลิจฉวี
ผู้เจริญทั้งหลายจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พวกเราจะเอาเชือกมัดนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
แล้วใช้โคหลาย ๆ คู่ฉุดมา’ เชือกนั้นก็จะขาด หรือไม่กายของนักบวชเปลือยปาฏิก-
บุตรก็จะขาด แต่ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัด
ความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรา
ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณ-
โคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
[26] ภัคควะ ครั้งนั้น ชาลิยปริพาชก ผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะ (นักบวช
ผู้นิยมใช้บาตรไม้) ลุกจากที่นั่งกล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น
ขอให้ท่านทั้งหลายรอคอยสักครู่ ข้าพเจ้าอาจจะไปนำนักบวชเปลือยปาฏิกบุตรมายัง
บริษัทนี้ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :20 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องอิทธิปาฎิหาริย์

ภัคควะ ชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะเข้าไปหานักบวชเปลือย
ปาฏิกบุตร ถึงอารามของตินทุกขาณุปริพาชกแล้วกล่าวกับนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
ดังนี้ว่า ‘ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไปเถิด ท่านกลับไปดีกว่า พวกเจ้าลิจฉวีผู้มี
ชื่อเสียง พราหมณมหาศาล คหบดีผู้มั่งคั่ง และสมณพราหมณ์ลัทธิต่าง ๆ ผู้มี
ชื่อเสียง ต่างพากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับพักกลางวันอยู่ที่อาราม
ของท่าน อนึ่ง ท่านได้เคยพูดอวดไว้ในบริษัท ในกรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า ‘พระสมณ-
โคดมเป็นญาณวาท ฯลฯ เราจักแสดงให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณ’ ท่านปาฏิกบุตร
ท่านจงออกไปครึ่งทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับพัก
กลางวันอยู่ที่อารามของท่านแล้ว อนึ่ง พระสมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัทว่า
‘ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น
ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา
ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้
ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’ แม้เจ้าลิจฉวีผู้เจริญทั้งหลายจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พวกเรา
จะเอาเชือกมัดนักบวชเปลือยปาฏิกบุตร แล้วใช้โคหลาย ๆ คู่ฉุดมา’ เชือกนั้นก็จะขาด
หรือไม่กายของนักบวชเปลือยปาฏิกบุตรก็จะขาด แต่ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร
ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้า
กับเราได้ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความ
เห็นนั้นก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไปเถิด ด้วยการกลับไปของท่านนั่นแหละ พวกเราจะ
ทำให้ท่านชนะ จะทำให้พระสมณโคดมแพ้’
ภัคควะ เมื่อชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะกล่าวอย่างนี้ นักบวช
เปลือยปาฏิกบุตร จึงกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ ณ ที่นั้นเอง ไม่อาจ
ลุกจากที่นั่งได้ ครั้งนั้น ชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะ จึงกล่าวกับ
นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรดังนี้ว่า ‘ท่านปาฏิกบุตร ท่านเป็นอะไรไปเล่า ตะโพก
ของท่านติดกับตั่งหรือ หรือว่าตั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า ‘เราจะไป ๆ’
แต่กลับซบศีรษะอยู่ ณ ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้’ ภัคควะ นักบวชเปลือย
ปาฏิกบุตร แม้ถูกชาลิยปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของทารุปัตติกะต่อว่าอยู่อย่างนี้ ก็ยังกล่าวว่า
‘เราจะไป ๆ’ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ ณ ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกจากที่นั่งได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :21 }