เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
31-32. ลักษณะพระทนต์เรียบเสมอกันและพระเขี้ยวแก้วขาวงาม

บริษัท ราชา เศรษฐี กุมาร เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ อนึ่ง
ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มี
กิเลสในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงมี
บริวารสะอาด บริวารที่สะอาดของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[241] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า
“มหาบุรุษนั้นทรงละมิจฉาอาชีวะ
ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
อันสะอาดเป็นธรรม ทรงกำจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ทรงประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นสุขแก่คนหมู่มาก
เสวยสิ่งที่มีผลเป็นสุข
ที่สัตบุรุษผู้มีปัญญาละเอียด ผู้ฉลาดสรรเสริญแล้ว
เป็นผู้เสมอกับเทพผู้ประเสริฐในเมืองไตรทิพย์
เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความยินดีและความเพลิดเพลิน
อภิรมย์อยู่ในสวรรค์
ครั้นจุติจากสวรรค์นั้น ได้ภพที่เป็นมนุษย์
ทรงได้รับผลวิบากแห่งกรรมที่ทรงทำดีแล้ว
คือ มีพระทนต์เรียบ เสมอ สะอาด ขาวผ่อง
ด้วยวิบากแห่งกรรมที่เหลือ
พวกมนุษย์ผู้ทำนายลักษณะ
ที่ยอมรับกันว่าเป็นผู้ละเอียดรอบคอบจำนวนมาก
ประชุมกันแล้วทำนายมหาบุรุษนั้นว่า
‘พระกุมารนี้ จะมีหมู่ชนที่สะอาดเป็นบริวาร
มีพระทนต์ที่เกิดทั้ง 2 ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :197 }