เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์

ภายนอก คือ ราคะ โทสะ หรือโมหะ หรือสมณพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือ
ใคร ๆ ในโลกกำจัดพระองค์ได้ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ พระ
ผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[239] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า
“มหาบุรุษนั้น ไม่ตรัสคำเพ้อเจ้อ
ไม่ตรัสคำปราศจากหลักฐาน
มีครรลองแห่งพระดำรัสไม่สับสน
ทรงกำจัดคำที่ไม่เป็นประโยชน์
ตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์
และคำที่เป็นสุขแก่คนหมู่มาก
ครั้นทรงทำกรรมนั้นแล้วจุติจากมนุษยโลก
เข้าสู่เทวโลก เสวยผลวิบากแห่งกรรมที่ทรงทำดีแล้ว
จุติแล้ว เสด็จมาในโลกนี้อีก
ได้ความเป็นผู้มีพระหนุดุจคางราชสีห์
ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์สี่เท้า
ถ้าเป็นพระราชาจะทรงเป็นจอมมนุษย์
เป็นใหญ่เหนือมนุษย์ เป็นผู้มีอานุภาพมาก
เป็นผู้ที่ใครกำจัดได้ยากยิ่ง
เป็นผู้เสมอกับเทพผู้ประเสริฐในเมืองไตรทิพย์
ดุจพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่าเทพ ฉะนั้น
ผู้มีสภาวะเช่นนั้นเป็นผู้ที่คนธรรพ์ อสูร
ท้าวสักกะ และยักษ์ผู้กล้าหาญ กำจัดไม่ได้ง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :195 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
31-32. ลักษณะพระทนต์เรียบเสมอกันและพระเขี้ยวแก้วขาวงาม

ผู้มีพระลักษณะเช่นว่านั้น
ย่อมจะเป็นใหญ่ในทิศทั้งหลาย
คือทั้งทิศใหญ่และทิศเฉียง ในโลกนี้”

31-32. ลักษณะพระทนต์เรียบเสมอกันและพระเขี้ยวแก้วขาวงาม1

[240] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ละมิจฉาอาชีวะแล้ว ดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ คือ เว้นขาดจากการโกง
ด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การ
ล่อลวง การตลบตะแลง การตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูน ทำให้กรรมนั้น
ไพบูลย์แล้ว หลังจากตายแล้ว ตถาคตจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครอบงำเทพ
เหล่าอื่นในเทวโลกนั้น ด้วยฐานะ 10 คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์
ยศทิพย์ ความเป็นใหญ่ทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์
จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษ 2 ประการนี้
คือ (1) มีพระทนต์เรียบเสมอกัน (2) มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะ 2 ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วย
แก้ว 7 ประการ คือ (1) จักรแก้ว (2) ช้างแก้ว (3) ม้าแก้ว (4) มณีแก้ว
(5) นางแก้ว (6) คหบดีแก้ว (7) ปริณายกแก้ว และมีพระราชโอรสมากกว่า
1,000 องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้
พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้
มีสาครเป็นขอบเขต ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีเขตหมาย ไม่มีรั้วหนาม มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์
ปลอดภัยสงบ ไร้เสี้ยนหนาม เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชา
จะทรงมีบริวารสะอาด บริวารที่สะอาดของพระองค์ คือ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม
ชาวชนบท โหราจารย์และมหาอำมาตย์ แม่ทัพนายกอง ราชองครักษ์ อำมาตย์

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 24,26

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :196 }