เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์

มหาบุรุษนั้น ตรัสแต่คำเป็นที่ถูกใจ
จับใจ เสนาะโสต จึงทรงได้รับผลอันเกิดจากความประพฤติดี
เสวยผลบุญในสวรรค์ทั้งหลาย
ครั้นเสวยผลอันเกิดจากความประพฤติดีแล้ว
เสด็จมาในโลกนี้ ได้ความเป็นผู้มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม
เป็นผู้มีพระชิวหาใหญ่ หนา
เป็นผู้มีพระดำรัสอันชนทั้งหลายยอมรับ
ผลนั้นย่อมสำเร็จแก่มหาบุรุษผู้ตรัสอยู่
แม้เมื่อทรงเป็นคฤหัสถ์ ฉันใด
ถ้ามหาบุรุษนั้นทรงออกผนวช
หมู่ชนจะเชื่อถือพระดำรัสของพระองค์
ผู้ตรัสสุภาษิตหลากหลายแก่คนหมู่มาก ฉันนั้น”

30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์1

[238] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ ละเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
ประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทว-
โลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีพระหนุดุจคางราชสีห์
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะไม่มีข้าศึกศัตรู
ที่เป็นมนุษย์คนใดกำจัดพระองค์ได้ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ ฯลฯ
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะไม่มีข้าศึกศัตรูภายในหรือ

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 22

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :194 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์

ภายนอก คือ ราคะ โทสะ หรือโมหะ หรือสมณพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือ
ใคร ๆ ในโลกกำจัดพระองค์ได้ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ พระ
ผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[239] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า
“มหาบุรุษนั้น ไม่ตรัสคำเพ้อเจ้อ
ไม่ตรัสคำปราศจากหลักฐาน
มีครรลองแห่งพระดำรัสไม่สับสน
ทรงกำจัดคำที่ไม่เป็นประโยชน์
ตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์
และคำที่เป็นสุขแก่คนหมู่มาก
ครั้นทรงทำกรรมนั้นแล้วจุติจากมนุษยโลก
เข้าสู่เทวโลก เสวยผลวิบากแห่งกรรมที่ทรงทำดีแล้ว
จุติแล้ว เสด็จมาในโลกนี้อีก
ได้ความเป็นผู้มีพระหนุดุจคางราชสีห์
ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์สี่เท้า
ถ้าเป็นพระราชาจะทรงเป็นจอมมนุษย์
เป็นใหญ่เหนือมนุษย์ เป็นผู้มีอานุภาพมาก
เป็นผู้ที่ใครกำจัดได้ยากยิ่ง
เป็นผู้เสมอกับเทพผู้ประเสริฐในเมืองไตรทิพย์
ดุจพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่าเทพ ฉะนั้น
ผู้มีสภาวะเช่นนั้นเป็นผู้ที่คนธรรพ์ อสูร
ท้าวสักกะ และยักษ์ผู้กล้าหาญ กำจัดไม่ได้ง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :195 }