เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
28-29. ลักษณะพระชิวหาใหญ่ยาวและพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม

28-29. ลักษณะพระชิวหาใหญ่ยาวและพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม1

[236] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ ละเว้นขาดจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็น
คำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูน
กรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ ได้ลักษณะ
มหาบุรุษ 2 ประการนี้ คือ (1) มีพระชิวหาใหญ่ยาว (2) มีพระสุรเสียงดุจเสียง
พรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะ 2 ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะมี
พระวาจาอันชนทั้งหลายยอมรับ ชนทั้งหลาย คือ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม
ชาวชนบท โหราจารย์และมหาอำมาตย์ แม่ทัพนายกอง ราชองครักษ์ อำมาตย์
บริษัท ราชา เศรษฐี ราชกุมาร ยอมรับพระดำรัสของพระองค์ เมื่อเป็นพระราชา
จะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ ฯลฯ เมื่อทรงเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็น
พระพุทธเจ้าจะมีพระวาจาอันชนทั้งหลายยอมรับ ชนทั้งหลาย คือ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ยอมรับพระดำรัสของ
พระองค์ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความ
นี้ไว้แล้ว
[237] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า
“มหาบุรุษนั้น ไม่ตรัสคำหยาบรุนแรง
คือ ที่ก่อให้เกิดการด่า การบาดหมาง และการเบียดเบียนกัน
ที่ก่อให้เกิดความเจ็บแค้น ที่ทำลายชนจำนวนมาก
ตรัสแต่คำอ่อนหวาน นุ่มนวล มีประโยชน์

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 27,28

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :193 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์

มหาบุรุษนั้น ตรัสแต่คำเป็นที่ถูกใจ
จับใจ เสนาะโสต จึงทรงได้รับผลอันเกิดจากความประพฤติดี
เสวยผลบุญในสวรรค์ทั้งหลาย
ครั้นเสวยผลอันเกิดจากความประพฤติดีแล้ว
เสด็จมาในโลกนี้ ได้ความเป็นผู้มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม
เป็นผู้มีพระชิวหาใหญ่ หนา
เป็นผู้มีพระดำรัสอันชนทั้งหลายยอมรับ
ผลนั้นย่อมสำเร็จแก่มหาบุรุษผู้ตรัสอยู่
แม้เมื่อทรงเป็นคฤหัสถ์ ฉันใด
ถ้ามหาบุรุษนั้นทรงออกผนวช
หมู่ชนจะเชื่อถือพระดำรัสของพระองค์
ผู้ตรัสสุภาษิตหลากหลายแก่คนหมู่มาก ฉันนั้น”

30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์1

[238] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ ละเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
ประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทว-
โลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีพระหนุดุจคางราชสีห์
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะไม่มีข้าศึกศัตรู
ที่เป็นมนุษย์คนใดกำจัดพระองค์ได้ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ ฯลฯ
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะไม่มีข้าศึกศัตรูภายในหรือ

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 22

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :194 }