เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
23. ลักษณะพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์

และมีดวงพระเนตรดำสนิท
มองเห็นได้ชัดเจน
พวกมนุษย์จำนวนมากเป็นอภิโยคี1
มีความรอบคอบ ฉลาดในนิมิต
ฉลาดในการทำนายอย่างละเอียดถี่ถ้วน
จะชมเชยพระกุมารนั้นว่า ‘เป็นผู้ที่แลดูน่ารัก’
อนึ่ง แม้ทรงเป็นคฤหัสถ์ ก็แลดูน่ารัก
เป็นที่รักของคนหมู่มาก
ถ้าไม่ทรงเป็นคฤหัสถ์ ทรงเป็นพระสมณะ
จะทรงเป็นที่รักและดับโศกของคนหมู่มาก”

23. ลักษณะพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์2

[230] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์เป็นผู้นำของคนหมู่มากในกุศลธรรม เป็นประมุขของคนหมู่มากในกายสุจริต
ในวจีสุจริต ในมโนสุจริต ในการจำแนกทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถ
ในความเกื้อกูลมารดา ในความเกื้อกูลบิดา ในความเกื้อกูลสมณะ ในความเกื้อกูล
พราหมณ์ ในความประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรมอันยิ่ง
อื่น ๆ อีก เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทวโลกนั้น
แล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีพระเศียรดุจประดับด้วย
กรอบพระพักตร์
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะเป็นผู้ที่คน
หมู่มาก คือ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท โหราจารย์และมหาอำมาตย์

เชิงอรรถ :
1 เป็นอภิโยคี ในที่นี้หมายถึงผู้รู้ในลักษณศาสตร์ (ที.ปา.อ. 229/128)
2 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 32

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :187 }