เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
20. ลักษณะมีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี

จากญาติ จากมิตร จากพวกพ้อง
จากพละ จากวรรณะ และจากสุขทั้ง 2 ประการ’
มหาบุรุษนั้น มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์
ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์
มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด
และมีร่องพระปฤษฎางค์เต็มราบเสมอกัน
ลักษณะทั้ง 3 ประการนั้น เป็นบุพนิมิต
อันไม่เสื่อมของพระองค์
เพราะกรรมที่ทรงสั่งสม กระทำไว้ในกาลก่อน
มหาบุรุษแม้ทรงเป็นคฤหัสถ์
ทรงเจริญด้วยทรัพย์และธัญชาติ บุตรและภรรยา
สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า (ถ้า)ทรงตัดกังวลเสีย ออกผนวช
จะบรรลุพระโพธิญาณอันยอดเยี่ยม
มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา”

20. ลักษณะมีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี1

[226] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ หรือ
ด้วยศัสตรา เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทวโลก
นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีเส้นประสาทรับรสพระ
กระยาหารได้ดี มีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารเกิดที่ลำพระศอและมีปลายชูชัน
รับรสพระกระยาหารส่งไปทั่วสรรพางค์
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะมีพระโรคาพาธ
น้อย มีพระโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 21

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :184 }