เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
17-19. ลักษณะมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์

และมีพระวรกายเป็นปริมณฑล
ดุจต้นไทรที่งอกงามบนแผ่นดิน
มนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญาอันละเอียด
รู้จักนิมิตและลักษณะมากอย่าง ทำนายว่า
‘พระกุมารนี้เมื่อยังทรงพระเยาว์
มีพระรูปพระโฉมงดงาม
จะได้สิ่งอันคู่ควรแก่คฤหัสถ์มากอย่าง
พระกุมารผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินในโลกนี้
จะทรงมีกามโภคะซึ่งควรแก่คฤหัสถ์เป็นอันมาก
ถ้าพระกุมารนี้ทรงละกามโภคะทั้งปวง
จะทรงได้ทรัพย์อันเลิศยอดเยี่ยมสูงสุด”

17-19. ลักษณะมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์
ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ เป็นต้น1

[224] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจาก
โยคะแก่คนหมู่มาก ด้วยมนสิการว่า ‘ทำไฉน ชนเหล่านี้พึงเจริญด้วยศรัทธา เจริญ
ด้วยศีล เจริญด้วยสุตะ เจริญด้วยพุทธิ เจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยธรรม เจริญด้วย
ปัญญา เจริญด้วยทรัพย์และธัญชาติ เจริญด้วยนาและสวน เจริญด้วยสัตว์สองเท้า
และสัตว์สี่เท้า เจริญด้วยบุตรและภรรยา เจริญด้วยทาสกรรมกรและคนรับใช้ เจริญ
ด้วยญาติ เจริญด้วยมิตร เจริญด้วยพวกพ้อง’ เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูน
กรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษ
3 ประการนี้ คือ (1) มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์
(2) มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน (3) มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 17,18,20

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :182 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
17-19. ลักษณะมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์

มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะ 3 ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะ
ทรงมีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา ได้แก่ ไม่เสื่อมจากทรัพย์และธัญชาติ ไม่เสื่อมจาก
นาและสวน ไม่เสื่อมจากสัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า ไม่เสื่อมจากบุตรและภรรยา ไม่
เสื่อมจากทาสกรรมกรและคนรับใช้ ไม่เสื่อมจากญาติ ไม่เสื่อมจากมิตร ไม่เสื่อม
จากพวกพ้อง ไม่เสื่อมจากสมบัติทุกอย่าง เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้
ฯลฯ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะมีความไม่เสื่อม
เป็นธรรมดา ได้แก่ ไม่เสื่อมจากศรัทธา1 ไม่เสื่อมจากศีล2 ไม่เสื่อมจากสุตะ3 ไม่เสื่อม
จากจาคะ ไม่เสื่อมจากปัญญา ไม่เสื่อมจากสมบัติทุกอย่าง เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า
จะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[225] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า
“มหาบุรุษทรงปรารถนา
และทรงหวังความสำเร็จประโยชน์ว่า
‘ทำไฉน ชนเหล่าอื่นไม่พึงเสื่อมจากศรัทธา
จากศีล จากสุตะ จากพุทธิ จากจาคะ
จากธรรม จากสิ่งที่ทำให้สำเร็จประโยชน์มากอย่าง
จากทรัพย์และธัญชาติ จากนาและสวน
จากบุตรและภรรยา จากสัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า

เชิงอรรถ :
1 ศรัทธา แปลว่าความเชื่อ มี 2 ระดับ นับจากต่ำไปหาสูง คือ (1) โอกัปปนสัทธา คือ ความเชื่อที่ปักใจ
เชื่อในสิ่งที่น่าเชื่อ (2) ปสาทนสัทธา คือ ความเชื่อที่อาศัยความเลื่อมใสอย่างแรงกล้าในสิ่งที่น่าเลื่อมใส
(ที.ปา.อ. 225/127, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/205/85, ที.ปา.ฏีกา 225/149) และดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล)
22/205/347 ประกอบ
2 ศีล ในที่นี้หมายถึงศีล 5 ศีล 10 (ที.ปา.อ. 225/127)
3 สุตะ ในที่นี้หมายถึงการศึกษาที่นำประโยชน์สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย (ที.ปา.ฏีกา 225/1149)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :183 }