เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
17-19. ลักษณะมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์

และมีพระวรกายเป็นปริมณฑล
ดุจต้นไทรที่งอกงามบนแผ่นดิน
มนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญาอันละเอียด
รู้จักนิมิตและลักษณะมากอย่าง ทำนายว่า
‘พระกุมารนี้เมื่อยังทรงพระเยาว์
มีพระรูปพระโฉมงดงาม
จะได้สิ่งอันคู่ควรแก่คฤหัสถ์มากอย่าง
พระกุมารผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินในโลกนี้
จะทรงมีกามโภคะซึ่งควรแก่คฤหัสถ์เป็นอันมาก
ถ้าพระกุมารนี้ทรงละกามโภคะทั้งปวง
จะทรงได้ทรัพย์อันเลิศยอดเยี่ยมสูงสุด”

17-19. ลักษณะมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์
ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ เป็นต้น1

[224] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจาก
โยคะแก่คนหมู่มาก ด้วยมนสิการว่า ‘ทำไฉน ชนเหล่านี้พึงเจริญด้วยศรัทธา เจริญ
ด้วยศีล เจริญด้วยสุตะ เจริญด้วยพุทธิ เจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยธรรม เจริญด้วย
ปัญญา เจริญด้วยทรัพย์และธัญชาติ เจริญด้วยนาและสวน เจริญด้วยสัตว์สองเท้า
และสัตว์สี่เท้า เจริญด้วยบุตรและภรรยา เจริญด้วยทาสกรรมกรและคนรับใช้ เจริญ
ด้วยญาติ เจริญด้วยมิตร เจริญด้วยพวกพ้อง’ เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูน
กรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษ
3 ประการนี้ คือ (1) มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์
(2) มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน (3) มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 17,18,20

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :182 }