เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
14. ลักษณะพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก

14. ลักษณะพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก1

[220] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ เป็นผู้นำพวกญาติ มิตรสหาย ผู้มีใจดี ที่หายไปนาน จากกันไปนาน ให้กลับ
มาพบกัน คือ นำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับมารดา นำบิดาให้พบ
กับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดา นำพี่ชายน้องชายให้พบกับพี่ชายน้องชาย นำพี่ชาย
น้องชายให้พบกับพี่สาวน้องสาว นำพี่สาวน้องสาวให้พบกับพี่ชายน้องชาย นำพี่สาว
น้องสาวให้พบกับพี่สาวน้องสาว ครั้นทำให้พบกันแล้วก็ได้รับความชื่นชม เพราะ
ตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็น
อย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะมีพระโอรส
มาก มีพระราชโอรสมากกว่า 1,000 องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็น
วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ ฯลฯ
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงมีพระอริยสาวกมาก
พระอริยสาวกของพระองค์มีจำนวนหลายพัน เป็นผู้แกล้วกล้า มีความเพียรเป็น
คุณสมบัติ กำจัดเสนา(กิเลส)เสียได้ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[221] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า
“มหาบุรุษเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ๆ
ได้ทรงนำพวกญาติ มิตร
ที่หายไปนาน จากกันไปนานให้มาพบกัน
ครั้นทรงทำให้พบกันแล้วก็ได้รับความชื่นชม

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 10

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :179 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
15-16. ลักษณะพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร

เพราะกุศลกรรมนั้น พระองค์จึงเข้าไปสู่โลกทิพย์
เสวยความสุขและสมบัติเป็นที่เพลิดเพลินและยินดี
จุติจากเทวโลกแล้วเสด็จมาในโลกนี้อีก
ได้องคาพยพ คือ พระคุยหฐาน
ที่ควรปกปิดด้วยผ้า เร้นอยู่ในฝัก
มหาบุรุษเช่นนั้นมีพระโอรสมาก
พระโอรสของพระองค์มากกว่า 1,000 องค์
เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นวีรบุรุษ สามารถให้ศัตรูพ่ายไป
ให้ปีติเกิด และทูลถ้อยคำน่ารัก
แก่มหาบุรุษที่ยังทรงเป็นคฤหัสถ์
เมื่อมหาบุรุษทรงออกผนวชบำเพ็ญพรต
จะมีพระสาวกมากกว่านั้น
ล้วนแต่ดำเนินตามพระพุทธพจน์
ลักษณะนั้นย่อมบ่งบอกถึงพระคุยหฐาน
ที่เร้นอยู่ในฝักของมหาบุรุษ
ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต”

ภาณวารที่ 1 จบ

15-16. ลักษณะพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร
และเมื่อประทับยืนไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ลูบคลำถึงพระชานุ
ด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้1

[222] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ย่อมรู้จักชนที่เท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง
รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล หยั่งทราบว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 19,9

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :180 }