เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
11. ลักษณะพระชงฆ์เรียวดุจแข็งเนื้อทราย

อนึ่ง ถ้าพระองค์ทรงออกผนวช
ก็จะทรงมีพระวิริยะไม่ย่อหย่อน
ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง
ไม่มีใคร ๆ ยิ่งกว่าพระองค์
ทรงครอบครองโลกทั้งปวงอยู่”

11. ลักษณะพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย1

[214] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ2 วิชา3 จรณะ4 หรือกรรม5 โดยประสงค์ว่า ทำอย่างไร
ชนทั้งหลายนี้พึงรู้ได้เร็ว พึงปฏิบัติได้เร็ว ไม่พึงลำบากนาน เพราะตถาคตได้ทำ
สั่งสม ฯลฯ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ จึงได้ลักษณะมหาบุรุษนี้
คือ มีพระชงฆ์เรียวดังแข้งเนื้อทราย
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้พาหนะ
อันคู่ควรแก่พระราชา ซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งขบวนทัพของพระราชา เครื่อง
ราชูปโภคอันสมควรแก่พระราชาโดยพลัน เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้
ฯลฯ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้ปัจจัยอันควร
แก่สมณะ อันเป็นองค์ของสมณะ และเครื่องสมณูปโภคอันควรแก่สมณะโดยพลัน
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความ
นี้ไว้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 8
2 ศิลปะ หมายถึงวิชาชีพมี 2 อย่าง คือ (1) ศิลปะสามัญมีช่างสาน ช่างหม้อ ช่างหูก เป็นต้น (2) ศิลปะ
อย่างสูงมีช่างลวดลาย นักคำนวณด้วยวิธีการนับนิ้ว (มุททา) และนักคำนวณด้วยวิธีคิดในใจ (คณนา)
(ที.ปา.อ. 214/120)
3 วิชา ในที่นี้หมายถึงวิชาหลายหลากมีวิชาหมองู เป็นต้น (ที.ปา.อ. 214/120)
4 จรณะ ในที่นี้หมายถึงศีล 5 ศีล 10 หรือปาฏิโมกขสังวรศีล (ที.ปา.อ. 214/120)
5 กรรม ในที่นี้หมายถึงปัญญาหยั่งรู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน (ที.ปา.ฏีกา 214/139)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :174 }