เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
6. ลักษณะพระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์

ถ้าพระกุมารทรงครองเรือน
ก็จะมีพระชนมายุยืนยาว
ถ้าออกผนวชก็จะให้พระชนมายุยืนยาวกว่านั้น
เพื่อให้มีความชำนาญในการเจริญอิทธิบาท
นั้นเป็นนิมิตแห่งความเป็นผู้มีพระชนมายุยืนยาว ด้วยประการฉะนี้”

6. ลักษณะพระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์1

[208] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ให้ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่ม
อันประณีตและมีรสอร่อย เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ทำให้กรรม
นั้นไพบูลย์แล้ว หลังจากตายแล้ว ตถาคตจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ฯลฯ จุติจาก
เทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ จึงได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีพระมังสะ
ในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์ พระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์ ได้แก่ ที่หลังพระหัตถ์
ทั้งสองมีพระมังสะพูนเต็ม ที่หลังพระบาททั้งสองมีพระมังสะพูนเต็ม ที่จะงอยบ่า
ทั้งสองมีพระมังสะพูนเต็ม ที่ลำพระศอมีพระมังสะพูนเต็ม
มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชา จะทรงได้ของที่ควรเคี้ยว
ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย
เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ ฯลฯ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของ
ที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่ง
ดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[209] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อ 16

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :169 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
7-8. ลักษณะพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม

“มหาบุรุษเป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว
ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม
ของที่ควรชิม และน้ำที่ควรดื่ม มีรสอันเลิศ
เพราะกรรมที่เป็นสุจริตนั้น มหาบุรุษนั้น
จึงบันเทิงยิ่งตลอดกาลนานในสวนนันทวัน
เสด็จมาในโลกนี้อีก
ทรงได้พระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์
ได้ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
บัณฑิตผู้ฉลาดในพยัญชนะและนิมิต
ทำนายมหาบุรุษนั้นว่า
เป็นผู้ได้ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันมีรส
ลักษณะนี้ใช่ว่าจะบ่งบอกถึงการได้ของควรเคี้ยว
ของควรบริโภค เฉพาะเมื่อมหาบุรุษเป็นคฤหัสถ์เท่านั้น
แม้เมื่อทรงออกผนวช
ก็จะได้ของควรเคี้ยวของควรบริโภคนั้นเหมือนกัน
บัณฑิตทั้งหลายทำนายมหาบุรุษผู้ได้ของควรเคี้ยว
ของควรบริโภคที่มีรสอันเลิศว่า พระองค์
จะเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ทั้งปวงได้”

7-8. ลักษณะพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม
และมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย1

[210] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ (1) ทาน (การให้) (2) เปยยวัชชะ
(วาจาเป็นที่รัก) (3) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (4) สมานัตตตา (การวางตน

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 5,6

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :170 }