เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
6. ลักษณะพระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์

ถ้าพระกุมารทรงครองเรือน
ก็จะมีพระชนมายุยืนยาว
ถ้าออกผนวชก็จะให้พระชนมายุยืนยาวกว่านั้น
เพื่อให้มีความชำนาญในการเจริญอิทธิบาท
นั้นเป็นนิมิตแห่งความเป็นผู้มีพระชนมายุยืนยาว ด้วยประการฉะนี้”

6. ลักษณะพระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์1

[208] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ให้ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่ม
อันประณีตและมีรสอร่อย เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ทำให้กรรม
นั้นไพบูลย์แล้ว หลังจากตายแล้ว ตถาคตจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ฯลฯ จุติจาก
เทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ จึงได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีพระมังสะ
ในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์ พระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์ ได้แก่ ที่หลังพระหัตถ์
ทั้งสองมีพระมังสะพูนเต็ม ที่หลังพระบาททั้งสองมีพระมังสะพูนเต็ม ที่จะงอยบ่า
ทั้งสองมีพระมังสะพูนเต็ม ที่ลำพระศอมีพระมังสะพูนเต็ม
มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชา จะทรงได้ของที่ควรเคี้ยว
ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย
เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ ฯลฯ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของ
ที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่ง
ดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[209] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อ 16

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :169 }