เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
1. ลักษณะฝ่าพระบาทราบเสมอกัน

คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นใหญ่ทิพย์ รูปทิพย์ เสียง
ทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็น
อย่างนี้1 จึงได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีฝ่าพระบาทราบเสมอกันขณะเหยียบลง
พื้นฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ยกฝ่าพระบาทขึ้นก็ยังเสมอกัน ขณะจดฝ่าพระบาทลง
ทุกส่วนก็แตะพื้นพร้อมกัน
[202] มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วย
แก้ว 7 ประการ คือ (1) จักรแก้ว (2) ช้างแก้ว (3) ม้าแก้ว (4) มณีแก้ว
(5) นางแก้ว (6) คหบดีแก้ว (7) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรสมากกว่า 1,000 องค์
ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ ทรงชนะ
โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็น
ขอบเขต ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีเขตหมาย ไม่มีรั้วหนาม มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ปลอดภัย
สงบ ไร้เสี้ยนหนาม เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชา ไม่มีมนุษย์
คนใดที่เป็นข้าศึกศัตรูข่มได้ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ อนึ่ง ถ้า
มหาบุรุษออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลส
ในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะไม่มีข้าศึก
ศัตรูภายในหรือภายนอก คือ ราคะ โทสะ หรือโมหะ หรือสมณพราหมณ์ เทพ
มาร พรหม ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงข่มได้ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าว
มานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
[203] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 มาสู่ความเป็นอย่างนี้ หมายถึงมาเกิดเป็นมนุษย์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :164 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
1. ลักษณะฝ่าพระบาทราบเสมอกัน

“มหาบุรุษทรงยินดีในสัจจะ1 ในธรรม2
ในการฝึก3 ในความสำรวม4 ในความสะอาด5
ในศีลที่เป็นอาลัย ในอุโบสถกรรม
ในความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ในกรรมอันไม่สาหัส
ทรงสมาทานมั่น ทรงประพฤติอย่างรอบคอบ
เพราะกรรมนั้น มหาบุรุษจึงไปสู่โลกทิพย์
เสวยสุขและสมบัติที่น่าเพลิดเพลินยินดี
จุติจากโลกทิพย์แล้ว เสด็จมาในโลกนี้อีก
ทรงเหยียบปฐพีด้วยพระบาททั้งสองอันราบเสมอกัน
พวกพราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะมาประชุมกันทำนายว่า
‘พระกุมารนี้ มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน
เป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ไม่มีใครข่มได้
พระลักษณะนั้นเป็นนิมิตส่องความนั้น
พระกุมารนี้ เมื่ออยู่ครองเรือน ไม่มีใครข่มได้
มีแต่ครอบงำพวกปรปักษ์ เหล่าข้าศึกศัตรูข่มมิได้
ใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้ หาข่มได้ไม่
เพราะผลแห่งกรรมนั้น
ถ้าพระกุมารผู้มีพระลักษณะเช่นนั้น
ทรงออกผนวช ทรงยินดีในเนกขัมมฉันทะ
จะมีพระปรีชาเห็นแจ้ง เป็นอัครบุคคล
ไม่มีใคร ๆ ข่มได้แน่นอน เป็นผู้สูงสุดกว่านรชน’
นี้เป็นธรรมดาของพระกุมารนั้น”

เชิงอรรถ :
1 สัจจะ ในที่นี้หมายถึงคำสัตย์ (ที.ปา.อ. 203/112)
2 ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ 10 ประการ (ที.ปา.อ. 203/112)
3 การฝึก ในที่นี้หมายถึงการฝึกอินทรีย์ (ที.ปา.อ. 203/112)
4 ความสำรวม ในที่นี้หมายถึงความสำรวมในศีล (ที.ปา.อ. 203/112)
5 ความสะอาด ในที่นี้หมายถึงสุจริต 3 ประการ คือ (1) กายสุจริต (ประพฤติชอบด้วยกาย) (2) วจีสุจริต
(ประพฤติชอบด้วยวาจา) (3) มโนสุจริต (ประพฤติชอบด้วยใจ) (ที.ปา.อ. 203/112)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :165 }