เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
1. ลักษณะฝ่าพระบาทราบเสมอกัน

32. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้อที่มหาบุรุษมีพระเศียร
ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ
ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการนี้
จึงมีคติเพียง 2 อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
1. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ
2. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกฤๅษีภายนอก ก็อาจจำลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการนี้
ของมหาบุรุษได้ แต่ฤๅษีเหล่านั้นไม่ทราบว่า ‘เพราะมหาบุรุษทรงทำกรรมนี้จึงได้
ลักษณะนี้’

1. ลักษณะพระบาทราบเสมอกัน

[201] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน1 กำเนิดก่อน2 ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์สมาทานในกุศลธรรม3 สมาทานมั่นคงในกายสุจริต(ประพฤติชอบด้วยกาย)
ในวจีสุจริต(ประพฤติชอบด้วยวาจา) ในมโนสุจริต(ประพฤติชอบด้วยใจ) ในการ
จำแนกทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถ ในความเกื้อกูลมารดา
ในความเกื้อกูลบิดา ในความเกื้อกูลสมณะ ในความเกื้อกูลพราหมณ์ ในความ
ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรม4อันยิ่งอื่น ๆ อีก เพราะ
ตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ทำกรรมนั้นให้ไพบูลย์แล้ว หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครอบงำเทพเหล่าอื่นในเทวโลกนั้นด้วยฐานะ 10

เชิงอรรถ :
1 ชาติก่อน ภพก่อน หมายถึงชาติที่เคยเกิดมาก่อน (ที.ปา.อ. 201/108)
2 กำเนิดก่อน หมายถึงที่อยู่อาศัยในชาติก่อน (ที.ปา.อ. 201/108)
3 กุศลธรรม หมายถึงกุศลกรรมบถ 10 ประการ (ที.ปา.อ. 201/109)
4 กุศลธรรมอันยิ่ง มีความหมายต่อไปนี้ คือ (1) กามาวจรกุศล (2) รูปาวจรกุศล (3) อรูปาวจรกุศล
(4) สาวกบารมีญาณ (5) ปัจเจกโพธิญาณ (6) สัพพัญญุตญาณ ในที่นี้หมายถึงสัพพัญญุตญาณ (ที.ปา.
อ. 201/110)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :163 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
1. ลักษณะฝ่าพระบาทราบเสมอกัน

คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นใหญ่ทิพย์ รูปทิพย์ เสียง
ทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็น
อย่างนี้1 จึงได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีฝ่าพระบาทราบเสมอกันขณะเหยียบลง
พื้นฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ยกฝ่าพระบาทขึ้นก็ยังเสมอกัน ขณะจดฝ่าพระบาทลง
ทุกส่วนก็แตะพื้นพร้อมกัน
[202] มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วย
แก้ว 7 ประการ คือ (1) จักรแก้ว (2) ช้างแก้ว (3) ม้าแก้ว (4) มณีแก้ว
(5) นางแก้ว (6) คหบดีแก้ว (7) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรสมากกว่า 1,000 องค์
ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ ทรงชนะ
โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็น
ขอบเขต ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีเขตหมาย ไม่มีรั้วหนาม มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ปลอดภัย
สงบ ไร้เสี้ยนหนาม เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชา ไม่มีมนุษย์
คนใดที่เป็นข้าศึกศัตรูข่มได้ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ อนึ่ง ถ้า
มหาบุรุษออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลส
ในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะไม่มีข้าศึก
ศัตรูภายในหรือภายนอก คือ ราคะ โทสะ หรือโมหะ หรือสมณพราหมณ์ เทพ
มาร พรหม ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงข่มได้ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าว
มานี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
[203] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 มาสู่ความเป็นอย่างนี้ หมายถึงมาเกิดเป็นมนุษย์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :164 }