เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

15. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและ
ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
16. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเอง
เป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นได้เอง
จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่’ ใช่ไหม
และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์แต่ละพวก ๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้
แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติแม้นี้ ผู้ที่
เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริง เราเท่านั้นเป็นผู้เหนือกว่า
ใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ
จุนทะ เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตเหล่านี้แลแก่เธอ
ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้น ยังมีอะไรอีกเล่าที่เรา
ไม่พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย

ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

[194] เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต1แก่เธอ
ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ คืออะไร ในเรื่องนั้น ยังมีอะไร
อีกเล่า ที่เราไม่ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต ได้แก่อปรันตกัปปิกทิฏฐิ 44 ดูเทียบ ที.สี. (แปล) 9/74-104/
30-39

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :154 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

คือ
1. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่มีรูป ยั่งยืน1หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
2. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
3. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ฯลฯ
4. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
จะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
5. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
6. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ฯลฯ
7. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
8. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ยั่งยืน แปลจากคำว่า อโรค อรรถกถาอธิบายว่า นิจฺจ แปลว่า เที่ยง ยั่งยืน คงที่ เพราะไม่แตกดับไป
(ที.สี.อ. 76-77/109, ที.สี.ฏีกา 76-77/208)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :155 }