เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

6. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
7. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
8. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกเกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็น
ตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
9. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
10. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
11. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์ทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
12. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์จะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
13. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
14. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
15. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
16. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่น
เป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :151 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

[192] 1. จุนทะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘อัตตา
และโลกเที่ยง’ ใช่ไหม และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใด
อย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้น
ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์
แต่ละพวก ๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่
เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติ1แม้นี้ ผู้ที่เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน
ความจริง เราเท่านั้นเป็นผู้เหนือกว่าใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ
[193] 2. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง ฯลฯ
3. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
4. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่า
ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
5. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีตนเองเป็นตัวการ
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 บัญญัติ มี 2 อย่าง คือ(1) บัญญัติ (2) อธิบัญญัติ บัญญัติ หมายถึงทิฏฐิบัญญัติ อธิบัญญัติ หมายถึง
ขันธบัญญัติ ธาตุบัญญัติ อายตนบัญญัติ อินทริยบัญญัติ สัจจบัญญัติ และบุคคลบัญญัติ ในที่นี้หมายเอา
ทั้งบัญญัติและอธิบัญญัติ (ที.ปา.อ. 192/106)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :152 }