เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] เหตุแห่งการอนุญาตปัจจัย

อายุ ระหว่างพยัญชนะเหล่านี้กับพยัญชนะเหล่านั้น พยัญชนะเหล่าไหนสมควรแก่
อรรถนี้มากกว่า’ ถ้าเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พยัญชนะเหล่านี้ที่ผม
พูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่อรรถนี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่า
เพื่อนพรหมจารีรูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารี
รูปนั้นเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญพยัญชนะเหล่านั้น
[181] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่น พึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ
กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถ
มาถูก และยกพยัญชนะมาถูก’ เธอทั้งหลายพึงชื่นชม พึงอนุโมทนาภาษิตของ
เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของเพื่อนพรหมจารี
รูปนั้นว่า ‘ดีแล้ว’ พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เป็น
ลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน ผู้มีอายุ
ผู้เข้าถึงอรรถ ผู้เข้าถึงพยัญชนะอย่างนี้’

เหตุแห่งการอนุญาตปัจจัย

[182] จุนทะ เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
เท่านั้นก็หามิได้ และแสดงธรรมเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
เท่านั้นก็หามิได้ แต่เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
และเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต เพราะฉะนั้น เราอนุญาตจีวร
แก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ
ที่น่าละอาย เราอนุญาตบิณฑบาตแก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่ง
กายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยคิดว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย
ความไม่มีโทษและความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ด้วยประการฉะนี้’ เราอนุญาตเสนาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :140 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] สุขัลลิกานุโยค

แก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิด
จากฤดู และเพื่อยินดีในการหลีกเร้น เราอนุญาตคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแก่เธอ
ทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อบรรเทาเวทนาอันเนื่องมาจากอาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อ
ความไม่ลำบากเป็นอย่างยิ่ง

สุขัลลิกานุโยค

[183] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พวกสมณะ ศากยบุตรยึดถือสุขัลลิกานุโยค1อยู่’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สุขัลลิกานุโยค เป็น
อย่างไร เพราะสุขัลลิกานุโยค มีมากมายหลายอย่างต่าง ๆ กัน’
จุนทะ สุขัลลิกานุโยค 4 ประการนี้ เป็นธรรมต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
สุขัลลิกานุโยค 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. คนพาลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ ครั้นฆ่าแล้ว บำรุงตนเองให้เป็นสุข
ให้มีความเอิบอิ่ม2 นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคประการที่ 1
2. คนพาลบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ครั้นถือ
เอาแล้วบำรุงตนเองให้เป็นสุข ให้มีความเอิบอิ่ม นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค
ประการที่ 2
3. คนพาลบางคนในโลกนี้ พูดเท็จ ครั้นพูดเท็จแล้ว บำรุงตนเองให้
เป็นสุข ให้มีความเอิบอิ่ม นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคประการที่ 3

เชิงอรรถ :
1 สุขัลลิกานุโยค ในที่นี้หมายถึงการหมกมุ่นในการเสพสุข (เป็นคตินิยมอย่างหนึ่งในปรัชญาอินเดีย
เรียกว่า จารวาก เทียบได้กับคติสุขารมณ์ (hedonism) ของปรัชญาตะวันตก) (ที.ปา.อ. 183/102)
2 ให้มีความเอิบอิ่ม ในที่นี้หมายถึงให้มีร่างกายอ้วนท้วน (ที.ปา.อ. 183/102)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :141 }