เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องนักบวชเปลือยชื่อปาฎิกบุตร

จักทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเหนือธรรมดาของมนุษย์ 2 อย่าง เราจักแสดง 4 อย่าง
ถ้าพระสมณโคดมจักทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเหนือธรรมดาของมนุษย์ 4 อย่าง
เราจักแสดง 8 อย่าง พระสมณโคดมจักทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเหนือธรรมดา
ของมนุษย์มากเท่าใด ๆ ก็ตาม เราจักแสดงให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณ’
ภัคควะ เมื่อสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร กล่าวอย่างนี้ เราได้กล่าวกับสุนักขัตตะ
ลิจฉวีบุตร ดังนี้ว่า ‘สุนักขัตตะ ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละ
ความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิด
อย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไป
เผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
[17] ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรักษาพระวาจา
นั้นเถิด ขอพระสุคตจงทรงรักษาพระวาจานั้นเถิด’
‘สุนักขัตตะ ก็ไฉนเธอจึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรักษาพระวาจานั้นเถิด ขอพระสุคตจงทรงรักษาพระวาจา
นั้นเถิด’ ดังนี้เล่า’
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคตรัสวาจานี้โดยนัยเดียวว่า ‘ถ้านักบวช
เปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจ
ที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด
ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะ
พึงแตกแน่’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรอาจแปลงรูปมาเผชิญ
หน้ากับพระผู้มีพระภาคก็ได้ ในตอนนั้นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคก็จะเป็นเท็จ’
[18] ‘สุนักขัตตะ ตถาคตเคยกล่าววาจาที่เป็น 2 นัยบ้างไหม’
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้ใจของนักบวชเปลือย
ปาฏิกบุตรด้วยพระทัยว่า ‘ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตร ยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด
ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า
‘ถึงเรายังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :14 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [1. ปาฎิกสูตร] เรื่องนักบวชเปลือยชื่อปาฎิกบุตร

พระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่หรือ’ หรือว่าเหล่าเทวดาก็ได้
กราบทูลความข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้านักบวชเปลือย
ปาฏิกบุตรยังไม่ละวาจา ฯลฯ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
[19] ‘สุนักขัตตะ เรากำหนดรู้ใจของนักบวชเปลือยปาฏิกบุตรด้วยใจของเรา
ว่า ‘ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตรยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น
ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้’ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเราจะไม่ละวาจา
ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้
ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’ และเหล่าเทวดาก็ได้บอกความข้อนี้แก่เราว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตรไม่ละวาจา ฯลฯ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
แม้เสนาบดีของเจ้าลิจฉวีชื่ออชิตะ ซึ่งได้ถึงแก่อนิจกรรมไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ไปเกิด
ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ก็ได้เข้ามาบอกเราอย่างนี้ว่า ‘นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรเป็น
คนไม่ละอาย เป็นคนพูดเท็จ ทั้งได้พยากรณ์ข้าพระองค์ที่วัชชีคามว่า ‘เสนาบดีของ
เจ้าลิจฉวีชื่ออชิตะไปเกิดในมหานรก’ ข้าพระองค์มิได้ไปเกิดในมหานรก แต่ไปเกิด
ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเปลือยปาฏิกบุตรเป็นคน
ไม่ละอาย เป็นคนพูดเท็จ ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตรยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด
ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับพระผู้มีพระภาคได้ แม้เขาจะคิด
อย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญ
หน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้ ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่’
แม้เพราะเหตุนี้แล เรากำหนดรู้ใจของนักบวชเปลือยปาฏิกบุตรด้วยใจของเรา
ว่า ‘ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตรยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น
ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับเราได้’ แม้เขาจะคิดอย่างนี้ว่า ‘ถึงเรายังไม่ละวาจา
ไม่ละความคิด ไม่สลัดความเห็นนั้น ก็อาจไปเผชิญหน้ากับพระสมณโคดมได้’ ดังนี้
ศีรษะของเขาจะพึงแตกแน่ และเหล่าเทวดาก็ได้บอกความข้อนี้แก่เราว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ถ้านักบวชเปลือยปาฏิกบุตรยังไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัด
ความเห็นนั้น ก็ไม่อาจที่จะมาเผชิญหน้ากับพระผู้มีพระภาคได้ แม้เขาจะคิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :15 }