เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] วิธีอธิบายให้เข้าใจ

วิธีอธิบายให้เข้าใจ

[178] จุนทะ บรรดาเธอเหล่านั้นซึ่งพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
ศึกษาอยู่ เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งพึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการกล่าวธรรมนั้น หาก
เธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถนั้นแหละมาผิด และยก
พยัญชนะมาผิด’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีนั้น
ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ ระหว่างพยัญชนะเหล่านี้กับพยัญชนะเหล่านั้น พยัญชนะเหล่าไหนสมควรแก่
อรรถนี้มากกว่า ระหว่างอรรถนี้กับอรรถนั้น อรรถไหนสมควรแก่พยัญชนะเหล่านี้
มากกว่า’ ถ้าเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้
ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่อรรถนี้มากกว่า อรรถนี้ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควร
แก่พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่าเพื่อนพรหมจารี
รูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นเข้าใจอย่าง
ถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่านั้น
[179] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่นพึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ
กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถมาผิด
แต่ยกพยัญชนะมาถูก’ เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีรูปนั้น
ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ ระหว่างอรรถนี้กับอรรถนั้น อรรถไหนสมควรแก่พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ ถ้า
เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อรรถนี้ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่
พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่าเพื่อนพรหมจารี
รูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นเข้าใจอย่าง
ถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญอรรถนั้น
[180] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่น พึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ
กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถมาดี
แต่ยกพยัญชนะมาผิด’ เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีรูปนั้น
ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :139 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] เหตุแห่งการอนุญาตปัจจัย

อายุ ระหว่างพยัญชนะเหล่านี้กับพยัญชนะเหล่านั้น พยัญชนะเหล่าไหนสมควรแก่
อรรถนี้มากกว่า’ ถ้าเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พยัญชนะเหล่านี้ที่ผม
พูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่อรรถนี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่า
เพื่อนพรหมจารีรูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารี
รูปนั้นเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญพยัญชนะเหล่านั้น
[181] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่น พึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ
กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถ
มาถูก และยกพยัญชนะมาถูก’ เธอทั้งหลายพึงชื่นชม พึงอนุโมทนาภาษิตของ
เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของเพื่อนพรหมจารี
รูปนั้นว่า ‘ดีแล้ว’ พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เป็น
ลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน ผู้มีอายุ
ผู้เข้าถึงอรรถ ผู้เข้าถึงพยัญชนะอย่างนี้’

เหตุแห่งการอนุญาตปัจจัย

[182] จุนทะ เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
เท่านั้นก็หามิได้ และแสดงธรรมเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
เท่านั้นก็หามิได้ แต่เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
และเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต เพราะฉะนั้น เราอนุญาตจีวร
แก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ
ที่น่าละอาย เราอนุญาตบิณฑบาตแก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่ง
กายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยคิดว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย
ความไม่มีโทษและความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ด้วยประการฉะนี้’ เราอนุญาตเสนาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :140 }