เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] ธรรมที่ควรสังคายนา

ธรรมที่ควรสังคายนา

[177] จุนทะ เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลายที่เราแสดงไว้แล้วเพื่อความรู้ยิ่ง
บริษัททั้งหมดนั้นแหละ พึงพร้อมเพรียงกันประชุม สอบทานอรรถกับอรรถ พยัญชนะ
กับพยัญชนะในธรรมนั้น แล้วพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมทั้งหลายเราแสดงไว้เพื่อความรู้ยิ่ง บริษัททั้งหมดนั่นแหละพึง
พร้อมเพรียงกัน ประชุมสอบทานอรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะแล้ว
พึงสังคายนากัน ไม่พึงวิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่
ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย คืออะไร
คือ

1. สติปัฏฐาน 4___2. สัมมัปปธาน 4
3. อิทธิบาท 4___4. อินทรีย์ 5
5. พละ 5___6. โพชฌงค์ 7
7. อริยมรรคมีองค์ 8

จุนทะ ธรรมทั้งหลายนี้แล เราแสดงไว้แล้วเพื่อความรู้ยิ่ง บริษัททั้งหมด
นั่นแหละพึงพร้อมเพรียงกันประชุม สอบทานอรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ
พึงสังคายนากัน ไม่พึงวิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน
ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :138 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] วิธีอธิบายให้เข้าใจ

วิธีอธิบายให้เข้าใจ

[178] จุนทะ บรรดาเธอเหล่านั้นซึ่งพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
ศึกษาอยู่ เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งพึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการกล่าวธรรมนั้น หาก
เธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถนั้นแหละมาผิด และยก
พยัญชนะมาผิด’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีนั้น
ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ ระหว่างพยัญชนะเหล่านี้กับพยัญชนะเหล่านั้น พยัญชนะเหล่าไหนสมควรแก่
อรรถนี้มากกว่า ระหว่างอรรถนี้กับอรรถนั้น อรรถไหนสมควรแก่พยัญชนะเหล่านี้
มากกว่า’ ถ้าเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้
ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่อรรถนี้มากกว่า อรรถนี้ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควร
แก่พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่าเพื่อนพรหมจารี
รูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นเข้าใจอย่าง
ถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่านั้น
[179] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่นพึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ
กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถมาผิด
แต่ยกพยัญชนะมาถูก’ เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีรูปนั้น
ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ ระหว่างอรรถนี้กับอรรถนั้น อรรถไหนสมควรแก่พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ ถ้า
เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อรรถนี้ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่
พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่าเพื่อนพรหมจารี
รูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นเข้าใจอย่าง
ถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญอรรถนั้น
[180] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่น พึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ
กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถมาดี
แต่ยกพยัญชนะมาผิด’ เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีรูปนั้น
ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :139 }