เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

มีดโกนที่ลับดีแล้ว แต่ไม่เห็นคมของมีดโกนนั้น’ จุนทะ อุทกดาบส รามบุตรจึง
กล่าวข้อความนี้ว่า ‘บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ ข้อความที่อุทกดาบส รามบุตร
กล่าวนั้น เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน1 เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์2 เพราะหมายเอาเฉพาะมีดโกนเท่านั้น
จุนทะ ถ้าบุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนั้นใดว่า ‘บุคคลเห็นอยู่
ชื่อว่าไม่เห็น’ บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนี้นั้นนั่นแลว่า ‘บุคคลเห็นอยู่
ชื่อว่าไม่เห็น’ ถามว่า ‘บุคคลเห็นอะไรอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ ตอบว่า ‘พรหมจรรย์
สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดา
กล่าวไว้ดี บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลจึง
ชื่อว่าเห็นพรหมจรรย์นั้น ในพรหมจรรย์นี้ ถ้าบุคคลถอนสิ่งนี้ออกไปด้วยคิดว่า
‘พรหมจรรย์นั้น จะพึงบริสุทธิ์กว่า ด้วยวิธีการนี้’ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลจึงชื่อว่า
ไม่เห็นพรหมจรรย์นั้น ในพรหมจรรย์นี้ ถ้าบุคคลเพิ่มสิ่งนี้เข้าไป ด้วยคิดว่า
‘พรหมจรรย์นั้น จะพึงบริบูรณ์ขึ้นด้วยวิธีการนี้’ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลจึงชื่อว่าไม่
เห็นพรหมจรรย์นั้น นี้เรียกว่า ‘บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ จุนทะ บุคคลเมื่อกล่าว
ให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนั้นใดว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ฯลฯ
ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’ บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนี้นั่นแลว่า
‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ไม่หย่อน
ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’

เชิงอรรถ :
1 เป็นของชาวบ้าน ในที่นี้หมายถึงเป็นข้อประพฤติปฏิบัติของคนโง่ (ที.ปา.ฏีกา 160/100)
2 ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 3 อย่าง คือ (1) ทิฏฐธัมมิกัตถะ
(ประโยชน์ในโลกนี้) (2) สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์ในโลกหน้า) (3) ปรมัตถะ (ประโยชน์สูงสุดคือพระ
นิพพาน) (ที.ปา.ฏีกา 160/100)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :137 }