เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...
ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...
อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ
พรหมจรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามเป็นผู้เฉียบแหลม ... อุบาสิกา
สาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหม
จรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... อุบาสิกาสาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามเป็นผู้เฉียบแหลม ... พรหมจรรย์ของ
ศาสดานั้นบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมากมั่นคงดี
จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และพรหมจรรย์
ของศาสดานั้น บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศ
เมื่อนั้นพรหมจรรย์นั้น ย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
[175] จุนทะ ก็บัดนี้ เราเป็นศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิด
ขึ้นแล้วในโลก ธรรมอันเรากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่เราผู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เราทำ
ให้สาวกทั้งหลายเข้าใจอรรถในสัทธรรม ทั้งทำพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์ครบถ้วนให้
แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทที่รวบรวมไว้พร้อมแล้ว ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์แก่
สาวกเหล่านั้น จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็บัดนี้เราเป็นศาสดา
เป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่าน
วัยมามาก
จุนทะ บัดนี้ มีภิกษุสาวกผู้เป็นเถระของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการ
แนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อาจกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ
อาจแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
บัดนี้ มีภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีภิกษุสาวก
ผู้เป็นนวกะของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของเรา
เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :135 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

... บัดนี้ มีภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีอุบาสก
สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์1ของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ...
บัดนี้ มีอุบาสกสาวก ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม2ของเราเป็นผู้
เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีอุบาสิกาสาวิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ
พรหมจรรย์3ของเราเป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีอุบาสิกาสาวิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม4ของเราเป็นผู้เฉียบแหลม จุนทะ บัดนี้ พรหมจรรย์ของ
เราบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี จนประกาศได้ดีทั่วถึง
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
[176] จุนทะ เท่าที่มีศาสดาเกิดขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เรายังไม่เห็นศาสดา
อื่นแม้ผู้เดียวที่บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศเหมือนเราเลย อนึ่ง
เท่าที่มีสงฆ์หรือคณะเกิดขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เรายังไม่เห็นสงฆ์ หรือ คณะอื่นแม้
หมู่เดียว ที่บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศ เหมือนภิกษุสงฆ์เลย
บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงพรหมจรรย์นั้นใดว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์
ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี
บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’ บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึง
พรหมจรรย์นี้นั่นแลว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วย
อาการทุกอย่าง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดา
ประกาศไว้ดีแล้ว’
จุนทะ ทราบว่า อุทกดาบส รามบุตร กล่าวข้อความอย่างนี้ว่า ‘บุคคลเห็นอยู่
ชื่อว่าไม่เห็น’ ถามว่า ‘บุคคลเห็นอะไรอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น5’ ตอบว่า ‘บุคคลเห็นใบของ

เชิงอรรถ :
1 เช่น จิตตคหบดี หัตถกอาฬวกะ (ที.ปา.อ. 175/100)
2 เช่น จุลลอนาถบิณฑิกะ และมหาอนาถบิณฑิกะ (ที.ปา.อ. 175/100)
3 เช่น นันทมารดา (ที.ปา.อ. 175/100)
4 เช่น นางขุชชุตตรา (ที.ปา.อ. 175/100)
5 คำว่า “บุคคลเห็นอะไรอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น” เป็นปัญหาที่อุทกดาบส รามบุตรถามมหาชน เมื่อมหาชนตอบ
ไม่ได้ ท่านจึงตอบเองว่า คนเห็นมีดโกนชื่อว่าไม่เห็นเพราะเห็นแต่ใบมีดโกนเท่านั้น แต่ไม่เห็นความคมของ
มีดโกน (ที.ปา.อ. 176/100)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :136 }