เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

12. ... อุบาสิกาสาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม เป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่พรหมจรรย์ของศาสดานั้น
มิได้1บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี
จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
13. ... พรหมจรรย์2ของศาสดานั้นบริบูรณ์3กว้างขวาง4แพร่หลาย5
รู้จักกันโดยมาก6มั่นคงดี จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย แต่พรหมจรรย์นั้น ไม่บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและ
ความเลิศด้วยยศ พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ จุนทะ เมื่อใด พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ
ศาสดาเป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่
หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก และภิกษุสาวกผู้เป็นเถระ
ของศาสดานั้น เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า
บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อาจกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ
อาจแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดย
ชอบธรรมได้ ภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบ
แหลม ... ภิกษุสาวกผู้เป็นนวกะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม
... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...

เชิงอรรถ :
1 คำว่า มิได้ แปลจากคำว่า “โน” ซึ่งอยู่ต้นประโยคดังบาลีว่า “โน เจ ขฺวสฺส พฺรหฺมจริยํ โหติ อิทฺธญฺเจว
ผีตญฺจ วิตฺถาริกํ พาหุชญฺญํ ปุถุภูตํ ยาว เทวมนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิตํ” ในที่นี้ใช้ปฏิเสธทั้งประโยค
2 พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงศาสนพรหมจรรย์คือคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา
(ที.ม.อ. 168/159)
3 บริบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงเจริญโดยชอบด้วยอำนาจความสุขในฌานอันภิกษุเหล่านี้บรรลุแล้ว (ที.ม.อ. 168/
159)
4 กว้างขวาง ในที่นี้หมายถึงเจริญสูงขึ้นจนถึงที่สุดแห่งความเจริญทางศาสนามีความถึงพร้อมด้วยอภิญญา
เป็นต้น (ที.ม. ฏีกา 168/187)
5 แพร่หลาย ในที่นี้หมายถึงกระจายออกไปดำรงอยู่ทั่วทุกทิศ (ที.ม.อ. 168/159)
6 รู้จักกันโดยมาก ในที่นี้หมายถึงได้รับประโยชน์เกื้อกูลจากการบรรลุธรรมกันโดยทั่วไป(ที.ม.ฏีกา 168/187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :134 }