เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

[173] 2. จุนทะ แม้หากว่าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ
ศาสดาเป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก1 บวชมานาน มีชีวิตอยู่
หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก แต่ภิกษุสาวกผู้เป็นเถระ
ของศาสดานั้น เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่
แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ2 ไม่อาจกล่าวพระ
สัทธรรมได้โดยชอบ ไม่อาจแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท3
ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
เมื่อใด พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นผู้
มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย
ล่วงกาลผ่านวัยมามาก และภิกษุสาวกผู้เป็นเถระของศาสดานั้น
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอัน
เกษมจากโยคะ อาจกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ อาจแสดง
ธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบ
ธรรมได้ เมื่อนั้น พรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
[174] 3. จุนทะ แม้หากว่าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ
ศาสดาเป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่
หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก และภิกษุสาวกผู้เป็นเถระ
ของศาสดานั้น เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า
บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อาจกล่าวสัทธรรมได้โดยชอบ
อาจแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย
โดยชอบธรรมได้ แต่ภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของศาสดานั้นเป็น

เชิงอรรถ :
1 มีประสบการณ์มากในที่นี้หมายถึงบวชมานานประสบพบเห็นเหตุการณ์ต่างๆมามาก (ที.สี.อ. 151/130)
2 ธรรมอันเกษมจากโยคะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (ที.ปา.อ. 173/99)
3 ปรัปวาท ในที่นี้หมายถึงวาทะ หรือลัทธิต่าง ๆ ของเจ้าลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนา(ที.ม.ฏีกา 374/375,
ขุ.ม.อ. 31/237)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :132 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

ผู้ไม่เฉียบแหลม ... พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้
4. ... ภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...
แต่ภิกษุสาวกผู้เป็นนวกะของศาสดานั้นไม่เป็นผู้เฉียบแหลม ...
5. ... ภิกษุสาวกผู้เป็นนวกะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...
แต่ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของศาสดานั้นเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ...
6. ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...
แต่ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของศาสดานั้นเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ...
7. ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...
แต่ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของศาสดานั้นเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ...
8. ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ...
แต่อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ
พรหมจรรย์เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ...
9. ... อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ
พรหมจรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่อุบาสกสาวกของศาสดานั้น
เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ...
10. ... อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกามเป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่อุบาสิกาสาวิกาของศาสดา
นั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์เป็นผู้ไม่
เฉียบแหลม ...
11. ... อุบาสิกาสาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
ประพฤติพรหมจรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่อุบาสิกาสาวิกา
ของศาสดานั้น เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม เป็นผู้ไม่
เฉียบแหลม ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :133 }