เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ธรรมวินัยที่บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

ศาสดาของท่านแสดงไว้ บัญญัติไว้เถิด’ ผู้ชักชวน ผู้ที่เขาชักชวน และผู้ที่ถูก
ชักชวนแล้ว ปฏิบัติตามนั้น ทั้งหมดจะประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะข้อนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่พระศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศ
ไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้
[169] จุนทะ อนึ่ง ในโลกนี้ มีศาสดาผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรมที่
ศาสดานั้นกล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ
ระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยืดถือปฏิบัติธรรมนั้น
สาวกของศาสดานั้นจะพึงมีคนผู้กล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เป็นลาภของท่าน
ท่านได้ดีแล้ว ศาสดาของท่านเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมก็เป็นอันพระศาสดา
กล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และท่านก็ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยึดถือประพฤติธรรมนั้น’ ด้วย
เหตุนี้แหละ จุนทะ ศาสดาในธรรมวินัยนั้นจะพึงได้รับการสรรเสริญ ธรรมในธรรม
วินัยนั้นจะพึงได้รับการสรรเสริญ และสาวกในธรรมวินัยนั้นก็ควรได้รับการสรรเสริญ
จุนทะ ผู้ที่กล่าวกับสาวกเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิบัติถูกต้องแล้ว จักทำสิ่งที่
ถูกต้องให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน’ ผู้สรรเสริญ ผู้ที่เขาสรรเสริญและผู้ที่ได้รับการ
สรรเสริญแล้วปรารภความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป ทั้งหมดจะประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ดี
ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัย
ที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่ม : 11 หน้า :129 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ศาสดาผู้ไม่ทำให้สาวกเดือดร้อนในภายหลัง

ศาสดาผู้ให้สาวกเดือดร้อนในภายหลัง

[170] จุนทะ อนึ่ง ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว
ในโลกนี้ และธรรมอันศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ศาสดา
ยังไม่ทรงทำให้สาวกทั้งหลายของพระองค์เข้าใจอรรถในสัทธรรม ทั้งไม่ทำพรหมจรรย์
ที่บริสุทธิ์ครบถ้วนให้แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทที่รวบรวมไว้พร้อมแล้ว ให้มีผล
อย่างปาฏิหาริย์1แก่สาวกเหล่านั้น จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย2
ต่อมา ศาสดาของสาวกเหล่านั้นปรินิพพานไป ศาสดาเห็นปานนี้แล ปรินิพพานแล้ว
ทำให้สาวกทั้งหลายเดือดร้อนในภายหลัง ข้อนั้นเพราะเหตุไร (สาวกเหล่านั้นคิดว่า)
‘เพราะศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก และธรรมก็เป็นอัน
ศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ
ระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ศาสดายังไม่ทรงทำให้
เราทั้งหลายเข้าใจอรรถในพระสัทธรรม ทั้งไม่ทำพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์ครบถ้วน
ให้แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทที่รวบรวมไว้พร้อมแล้ว ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์
แก่พวกเรา จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ต่อมา ศาสดาของเรา
ทั้งหลาย ปรินิพพานไป’ จุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แลปรินิพพานแล้ว ทำให้สาวก
ทั้งหลายเดือดร้อนในภายหลัง

ศาสดาผู้ไม่ทำให้สาวกเดือดร้อนในภายหลัง

[171] จุนทะ อนึ่ง ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดขึ้นแล้ว
ในโลกนี้ ธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และ

เชิงอรรถ :
1 ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์ ในที่นี้หมายถึงนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ (ที.ปา.อ. 170/99)
2 คำว่า “ประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” นี้ แปลจากบาลีว่า “ยาว เทวมนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิตํ”
ตามนัย ที.ปา.อ. 170/99, ที.ปา.ฏีกา 170/112 แต่ตามนัย ที.ม.อ. 168/159, ขุ.อุ. 51/350
แปลว่า “กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว” (ตามนัย ที.ปา.อ. 170/99, ที.ปา.ฏีกา
170/112)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :130 }