เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

ไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัย
ที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น1 สาวก
ของศาสดานั้นจะพึงมีคนกล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เป็นลาภของท่าน ท่านได้
ดีแล้ว ศาสดาของท่านผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้
ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นธรรมที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ท่านก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีกเลี่ยงจาก
ธรรมนั้น’ ด้วยเหตุนี้ จุนทะ แม้ศาสดาในธรรมวินัยนั้นจะพึงถูกติเตียน ธรรมใน
ธรรมวินัยนั้นจะพึงถูกติเตียน แต่สาวกในธรรมวินัยนั้นควรได้รับการสรรเสริญ จุนทะ
ผู้ที่กล่าวกับสาวกเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านจงปฏิบัติตามธรรมที่ศาสดาของท่านแสดง
ไว้ บัญญัติไว้เถิด’ ผู้ชักชวน2 ผู้ที่เขาชักชวนและผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว3ปฏิบัติตามนั้น
ทั้งหมดย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นก็เป็น
อย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่อง
นำออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าประกาศไว้
[167] อนึ่ง จุนทะ ในโลกนี้มีศาสดาที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรม
ที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็เป็น
ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยึดถือ
ประพฤติธรรมนั้น สาวกของศาสดานั้นจะพึงมีคนกล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ศาสดาของท่านเป็นผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้

เชิงอรรถ :
1 ประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น ในที่นี้หมายถึงไม่บำเพ็ญธรรมต่อไป ทำให้มีช่องว่าง (ที.ปา.อ. 166/98)
2 ผู้ชักชวน ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ (ที.ปา.อ. 166/98)
3 ผู้ที่เขาชักชวนและผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว ในที่นี้หมายถึงอันเตวาสิก (ที.ปา.อ. 166/98)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :127 }