เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

[165] ครั้งนั้น พระจุนทะ สมณุทเทส1 จำพรรษาอยู่ในกรุงปาวาได้เข้าไป
หาท่านพระอานนท์ซึ่งอยู่ในสามคาม2 กราบท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
แล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตร ได้ถึง
แก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวก
นิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็น 2 พวก ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนัก
ถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย” เมื่อพระจุนทะ สมณุทเทสกล่าว
อย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “คุณจุนทะ นี้เป็นข้ออ้าง3ที่จะเข้าเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคได้ มาเถิด คุณจุนทะ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค” พระจุนทะ สมณุทเทสรับคำแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ และพระจุนทะ สมณุทเทส ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่าน
พระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระจุนทะ
สมณุทเทสนี้บอกว่า ‘นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการ
ถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน ฯลฯ เป็นธรรมวินัย
ที่มีที่พำนักถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย”

ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

[166] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัย
ที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไป
เพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ จุนทะ
ในโลกนี้ มีศาสดาผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรมที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศ

เชิงอรรถ :
1 พระจุนทะ สมณุทเทส หมายถึงพระเถระผู้นี้เป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร และเป็นสัทธิ-
วิหาริกของพระอานนท์ คำนี้พวกภิกษุเรียกท่าน ในขณะเป็นสามเณร เมื่อท่านเป็นพระแล้วก็ยังเรียกชื่อนี้อยู่
(ที.ปา.อ. 164/95)
2 สามคาม หมายถึงชื่อหมู่บ้านที่มีข้าวฟ่างมากมาย (ที.ปา.อ. 165/96, ที.ปา.ฏีกา 165/96)
3 เป็นข้ออ้าง ในที่นี้หมายถึงเป็นมูลเหตุแห่งการได้รับฟังธรรมกถาจากสำนักของพระผู้มีพระภาค (ที.ปา.
ฏีกา 165/105)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :126 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

ไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัย
ที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น1 สาวก
ของศาสดานั้นจะพึงมีคนกล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เป็นลาภของท่าน ท่านได้
ดีแล้ว ศาสดาของท่านผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้
ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นธรรมที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ท่านก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีกเลี่ยงจาก
ธรรมนั้น’ ด้วยเหตุนี้ จุนทะ แม้ศาสดาในธรรมวินัยนั้นจะพึงถูกติเตียน ธรรมใน
ธรรมวินัยนั้นจะพึงถูกติเตียน แต่สาวกในธรรมวินัยนั้นควรได้รับการสรรเสริญ จุนทะ
ผู้ที่กล่าวกับสาวกเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านจงปฏิบัติตามธรรมที่ศาสดาของท่านแสดง
ไว้ บัญญัติไว้เถิด’ ผู้ชักชวน2 ผู้ที่เขาชักชวนและผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว3ปฏิบัติตามนั้น
ทั้งหมดย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นก็เป็น
อย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่อง
นำออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าประกาศไว้
[167] อนึ่ง จุนทะ ในโลกนี้มีศาสดาที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรม
ที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็เป็น
ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยึดถือ
ประพฤติธรรมนั้น สาวกของศาสดานั้นจะพึงมีคนกล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ศาสดาของท่านเป็นผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้

เชิงอรรถ :
1 ประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น ในที่นี้หมายถึงไม่บำเพ็ญธรรมต่อไป ทำให้มีช่องว่าง (ที.ปา.อ. 166/98)
2 ผู้ชักชวน ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ (ที.ปา.อ. 166/98)
3 ผู้ที่เขาชักชวนและผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว ในที่นี้หมายถึงอันเตวาสิก (ที.ปา.อ. 166/98)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :127 }