เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร] เทศนาเรื่องการแสดงฤทธิ์

งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องความหยั่งรู้การจุติและ
การอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย

เทศนาเรื่องการแสดงฤทธิ์

[159] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องการแสดงฤทธิ์ก็นับว่ายอดเยี่ยม การแสดงฤทธิ์ 2 ประการนี้ คือ
1. ฤทธิ์ที่มีอาสวะ มีอุปธิ1 ไม่เรียกว่า อริยะ
2. ฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ
ฤทธิ์ที่มีอาสวะ มีอุปธิ ไม่เรียกว่า อริยะ เป็นอย่างไร
คือ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิด
อย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ก็แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ
หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบน
แผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือฤทธิ์ที่มีอาสวะ มีอุปธิ ไม่เรียกว่า อริยะ

เชิงอรรถ :
1 มีอาสวะ มีอุปธิ ในที่นี้หมายถึงมีโทษ มีข้อติเตียน (ที.ปา.อ. 159/83)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :120 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
แสดงคุณพระศาสดาอย่างอื่นอีก

ฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลว่า
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึง
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่า
เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าไม่
ปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่
ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่ง
ที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงละวางสิ่งที่ปฏิกูล
และไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็ย่อมมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในการแสดงฤทธิ์
พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นไม่มีเหลืออยู่ เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น
ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไปอีก จะพึงมีสมณะหรือพราหมณ์
อื่นผู้รู้ธรรมยิ่ง มีปัญญาเกินไปกว่าพระผู้มีพระภาค ในเรื่องการแสดงฤทธิ์อีกหรือ

แสดงคุณพระศาสดาอย่างอื่นอีก

[160] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา1 ปรารภความเพียร2
มีเรี่ยวแรง3 จะพึงถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ

เชิงอรรถ :
1 กุลบุตรผู้มีศรัทธา ในที่นี้หมายถึงพระโพธิสัตว์ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน (ที.ปา.อ. 160/84)
2 ปรารภความเพียร หมายถึงประคองความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อน (ที.ปา.อ. 160/84,ที.ปา.ฏีกา
160/100)
3 มีเรี่ยวแรง หมายถึงมีความพยายามอย่างมั่นคง (ที.ปา.ฏีกา 160/100)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :121 }