เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร] เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ

2. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ 3
ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีก
เพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
3. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมา
จากโลกนั้นอีก’
4. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้น
ของบุคคลอื่น

เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ

[156] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงธรรมในเรื่องสัสสตวาทะ(ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง)ก็นับว่ายอดเยี่ยม
สัสสตวาทะ 3 ประการนี้ คือ
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และ
อาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำ
จิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง
3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง
30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง 1,000
ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติ
บ้าง หลายแสนชาติบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :116 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร] เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ

มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจาก
ภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มี
ตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ข้าพเจ้ารู้อดีตกาลได้ว่า โลกเคยเสื่อมมาแล้ว หรือว่าเคยเจริญ
มาแล้ว’ อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้อนาคตกาลว่า ‘โลกจักเสื่อม หรือว่าจัก
เจริญ อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสา
ระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ และเกิด
แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’ นี้เป็นสัสสตวาทะประการที่ 1
2. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
กิเลส ... บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อน
ได้หลายชาติ คือ 1 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป1บ้าง 2 สังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปบ้าง 3 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 4 สังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปบ้าง 5 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 10 สังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มี
วรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล
มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจาก
ภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้า
รู้อดีตกาลได้ว่า โลกเคยเสื่อมมาแล้ว หรือว่าเคยเจริญมาแล้ว’ อนึ่ง
ข้าพเจ้ารู้อนาคตกาลว่า ‘โลกจักเสื่อม หรือว่าจักเจริญ อัตตาและ
โลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์
เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ และเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’
นี้เป็นสัสสตวาทะประการที่ 2

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 72 หน้า 51 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :117 }