เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
เทศนาเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้นของบุคคลอื่น

2. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ
สกทาคามี เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ
โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
3. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็น
โอปปาติกะ1 เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ปรินิพพาน
ในโลกนั้นไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’
4. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องวิธีสั่งสอน

เทศนาเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้นของบุคคลอื่น

[155] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้น2ของบุคคลอื่นก็นับว่ายอดเยี่ยม คือ
1. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ 3
ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า’

เชิงอรรถ :
1 เป็นโอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงเป็นพระอนาคามีที่เกิดในภพชั้นสุทธาวาส(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) 5 ชั้น
มีชั้นอวิหา เป็นต้น แล้วดำรงภาวะในชั้นนั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในภพชั้นสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิด
เป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. 2/87-88/282-283)
2 ความหยั่งรู้การหลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงความรู้ในเรื่องการละกิเลสของผู้อื่น (ที.ปา.อ. 154/82, ที.ปา.
ฏีกา 155/97)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :115 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร] เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ

2. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ 3
ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีก
เพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
3. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมา
จากโลกนั้นอีก’
4. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้น
ของบุคคลอื่น

เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ

[156] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงธรรมในเรื่องสัสสตวาทะ(ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง)ก็นับว่ายอดเยี่ยม
สัสสตวาทะ 3 ประการนี้ คือ
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และ
อาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำ
จิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง
3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง
30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง 1,000
ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติ
บ้าง หลายแสนชาติบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :116 }