เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร] เทศนาเรื่องปฏิปทา

6. ธัมมานุสารี1 (ผู้แล่นไปตามธรรม)
7. สัทธานุสารี2 (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปุคคลบัญญัติ

เทศนาเรื่องปธาน

[151] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องปธานก็นับว่ายอดเยี่ยม โพชฌงค์ 7 ประการนี้ คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปธาน

เทศนาเรื่องปฏิปทา

[152] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องปฏิปทาก็นับว่ายอดเยี่ยม ปฏิปทา3 4 ประการนี้ คือ
1. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า)
2. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)

เชิงอรรถ :
1 ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162)
2 สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162)
3 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/166/233

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :112 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
เทศนาเรื่องมารยาทการพูด เป็นต้น

3. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
4. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว)
บรรดาปฏิปทา 4 ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้
บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง 2 ส่วน คือ เพราะปฏิบัติลำบาก และเพราะ
รู้ได้ช้า
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำ
เพราะปฏิบัติลำบาก
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำ
เพราะรู้ได้ช้า
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีต
ทั้ง 2 ส่วน คือ เพราะปฏิบัติสะดวก และเพราะรู้ได้เร็ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปฏิปทา

เทศนาเรื่องมารยาทการพูด เป็นต้น

[153] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องมารยาทการพูดก็นับว่ายอดเยี่ยม
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พูดวาจาเกี่ยวด้วยมุสาวาท ไม่พูดวาจาอันทำ
ความแตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาอันส่อเสียด ไม่มุ่งเอาชนะกันกล่าววาจาอันเกิดจาก
ความแข่งดีกัน กล่าวแต่วาจาอันมีหลักฐานด้วยปัญญาชื่อว่ามันตา ตามกาลอันควร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องมารยาทการพูด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม
ในเรื่องมารยาทคือศีลของบุรุษก็นับว่ายอดเยี่ยม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :113 }