เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร] เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ

ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของ
บุรุษไปพิจารณากระดูกและรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนด
โดยส่วนสอง คือ ที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกหน้า นี้เป็น
ทัสสนสมาบัติประการที่ 4
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องทัสสนสมาบัติ

เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ

[150] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องปุคคลบัญญัติก็นับว่ายอดเยี่ยม บุคคล 7 จำพวกนี้1 คือ

1. อุภโตภาควิมุต2___(ผู้หลุดพ้นทั้ง 2 ส่วน)
2. ปัญญาวิมุต3___(ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
3. กายสักขี4___(ผู้เป็นพยานในนามกาย)
4. ทิฏฐิปัตตะ5___(ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
5. สัทธาวิมุต6___(ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/14/13
2 อุภโตภาควิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ และใช้สมถะเป็นฐานในการบำเพ็ญ
วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/160, องฺ.นวก.อ. 3/45/316)
3 ปัญญาวิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ จนบรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
4 กายสักขี หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยนามกายและอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป เพราะ
เห็นด้วยปัญญา และหมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
(องฺ.ทุก.อ. 2/49/55, องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
5 ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
มีปัญญาแก่กล้า และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
6 สัทธาวิมุต หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
มีศรัทธาแก่กล้า และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.ทุก.อ. 2/49/55,
องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161-162)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :111 }