เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร

พระเจ้าแผ่นดินมีรากฐานมั่นคง มีกำแพงแข็งแรง มีป้อมค่ายแข็งแรง มีประตูเดียว
นายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียวฉลาด หลักแหลม ห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้
คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจดูหนทางตามลำดับรอบเมืองนั้น ไม่เห็นรอยต่อหรือ
ช่องกำแพง โดยที่สุดแม้เพียงที่ที่พอแมวลอดออกได้ เขาย่อมรู้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ทุกชนิด
เมื่อจะเข้าหรือออกเมืองนี้ ก็จะเข้าหรือออกทางประตูนี้เท่านั้น แม้ฉันใด วิธีการ
อนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ
ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน 4 ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ 7
ตามความเป็นจริง จึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาล ก็จักทรงละนิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่อง
เศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน 4 ทรงเจริญสัมโพช-
ฌงค์ 7 ตามความเป็นจริง จักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอน
กำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน 4 ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ 7 ตามความ
เป็นจริง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
[144] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ เพื่อฟังธรรม พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยม ประณีตยิ่งนัก
ทั้งฝ่ายดำ1 ฝ่ายขาว2 และฝ่ายที่มีส่วนเปรียบ3แก่ข้าพระองค์ พระองค์ทรงแสดง
ธรรมอย่างยอดเยี่ยม ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาว และฝ่ายที่มีส่วนเปรียบด้วย
ประการใด ๆ ข้าพระองค์ก็รู้ยิ่งในธรรมนั้นด้วยประการนั้น ๆ ได้ถึงความสำเร็จธรรม
บางส่วนในธรรมทั้งหลายแล้ว จึงเลื่อมใสในพระองค์ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’

เชิงอรรถ :
1 ฝ่ายดำ ในที่นี้หมายถึงสังกิเลสธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) (ที.ปา.ฏีกา 144/78)
2 ฝ่ายขาว ในที่นี้หมายถึงโวทานธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้ผ่องแผ้ว) (ที.ปา.ฏีกา 144/78)
3 ที่มีส่วนเปรียบ ในที่นี้หมายถึงสังกิเลสธรรมเป็นข้าศึกกับโวทานธรรมตามลำดับ โดยแสดงการเปรียบ
เทียบว่าสังกิเลสธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ส่วนโวทานธรรมเป็นธรรมที่ละ (ที.ปา.ฏีกา 144/78)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :105 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
เทศนาเรื่องการบัญญัติอายตนะ

เทศนาเรื่องกุศลธรรม

[145] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องกุศลธรรมทั้งหลายนับว่ายอดเยี่ยม ในเทศนานั้นมีกุศลธรรมดัง
ต่อไปนี้ คือ

1. สติปัฏฐาน 4___2. สัมมัปปธาน 4
3. อิทธิบาท 4___4. อินทรีย์ 5
5. พละ 5___6. โพชฌงค์ 7
7. อริยมรรคมีองค์ 8

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องกุศลธรรมทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น ไม่มีเหลืออยู่ เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น
ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไปอีก จะพึงมีสมณะหรือพราหมณ์อื่น
ผู้รู้ธรรมยิ่ง มีปัญญาเกินไปกว่าพระผู้มีพระภาค ในเรื่องกุศลธรรมทั้งหลายอีกหรือ

เทศนาเรื่องการบัญญัติอายตนะ

[146] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องการบัญญัติอายตนะก็นับว่ายอดเยี่ยม อายตนะภายในและอายตนะ
ภายนอก มีอย่างละ 6 ประการนี้ คือ

1. ตากับรูป___2. หูกับเสียง
3. จมูกกับกลิ่น___4. ลิ้นกับรส
5. กายกับโผฏฐัพพะ___6. ใจกับธรรมารมณ์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องการบัญญัติอายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :106 }