เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] วิญญาณฐิติ 7 ประการ

[128] อานนท์ ในวิญญาณฐิติ 7 ประการนั้น วิญญาณฐิติที่ 1 ว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทพบางพวกและ
วินิปาติกะบางพวก ผู้ที่รู้วิญญาณฐิตินั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ รู้โทษของ
วิญญาณฐิตินั้น และรู้อุบายสลัดออกจากวิญญาณฐิตินั้น เขาควรจะเพลิดเพลินใน
วิญญาณฐิตินั้นอยู่อีกหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า”
ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ วิญญาณฐิติที่ 7 ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวงโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร” ผู้ที่รู้วิญญาณฐิตินั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ
รู้โทษของวิญญาณฐิตินั้น และรู้อุบายสลัดออกจากวิญญาณฐิตินั้น เขาควรจะเพลิดเพลิน
ในวิญญาณฐิตินั้นอยู่อีกหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ในอายตนะ 2 ประการนั้น อายตนะที่ 1
คือ อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ที่รู้อสัญญีสัตตายตนะนั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ
รู้โทษของอสัญญีสัตตายตนะนั้น และรู้อุบายสลัดออกจากอสัญญีสัตตายตนะนั้น
เขาควรจะเพลิดเพลินในอสัญญีสัตตายตนะนั้นอยู่อีกหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ อายตนะที่ 2 คือ เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะ ผู้ที่รู้เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้คุณ รู้โทษของ
เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น และรู้อุบายสลัดออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
เขาควรจะเพลิดเพลินในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นอยู่อีกหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :74 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] วิโมกข์ 8 ประการ

ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุผู้รู้ถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
ของวิญญาณฐิติ 7 และอายตนะ 2 และอุบายสลัดออกจากวิญญาณฐิติ 7 และ
อายตนะ 2 นี้ตามความเป็นจริง ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น1ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้เป็นปัญญาวิมุต2

วิโมกข์ 8 ประการ

[129] อานนท์ วิโมกข์3 8 ประการนี้
วิโมกข์ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย4 นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 1
2. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก5 นี้เป็น
วิโมกข์ประการที่ 2
3. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม‘6 นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 3
4. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 4

เชิงอรรถ :
1 หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น หมายถึงไม่ถือมั่นในอุปาทาน 4 คือ (1) กามุปาทาน (ความถือมั่นในกาม)
(2) ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นในทิฏฐิ) (3) สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นในศีลพรต) (4) อัตตวาทุปาทาน
(ความถือมั่นในวาทะว่ามีอัตตา) (ที.ม.อ. 128/112)
2 ผู้เป็นปัญญาวิมุต หมายถึงหลุดพ้นด้วยกำลังปัญญา โดยไม่ได้บรรลุสมาธิชั้นสูงคือวิโมกข์ 8 (ที.ม.ฏีกา
128/144)
3 ดูเทียบ ที.ปา. 11/339/231, 358/271-272, ม.ม. 13/248/223, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/66/368-
369
4 มีรูป หมายถึงได้รูปฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม เห็นรูปทั้งหลาย หมายถึง
เห็นรูปฌาน 4 (ที.ม.อ. 129/112-113)
5 เห็นรูปทั้งหลายภายนอก หมายถึงเห็นรูปทั้งหลายมีนีลกสิณเป็นต้นด้วยญาณจักขุ (ที.ม.อ. 129/112-
113)
6 ผู้น้อมใจไปว่างาม หมายถึงผู้เจริญวัณณกสิณ กำหนดสีที่งาม (ที.ม.อ. 129/112-113

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :75 }