เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] ความเห็นว่าเป็นอัตตา

สภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่าอัตตาที่มีอยู่มีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมไม่ติดตามมา
ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้
บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ
ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพที่มีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก
ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า
อัตตาที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงควรกล่าวไว้
บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ
ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพที่มีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก
ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า
อัตตาที่มีอยู่มีขนาดจำกัดไม่มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควร
กล่าวไว้
บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ
ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก
ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า
อัตตาที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงควรกล่าวไว้
อานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยความเห็น 4 อย่างนี้แล”

ความเห็นว่าเป็นอัตตา

[121] “อานนท์ บุคคลเมื่อเห็นว่ามีอัตตา ย่อมเห็นด้วยความเห็น กี่อย่าง
บุคคลเมื่อเห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา ย่อมเห็นว่า ‘เวทนาเป็นอัตตาของเรา’
หรือเห็นว่า ‘เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา (เพราะ) อัตตาของเราไม่เสวยอารมณ์’ หรือ
เห็นว่า ‘เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา อัตตาของเราจะไม่เสวยอารมณ์ก็มิใช่ อัตตาของเรา
ยังเสวยอารมณ์อยู่ เพราะอัตตาของเรามีเวทนาเป็นคุณสมบัติ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :69 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] ความเห็นว่าเป็นอัตตา

[122] อานนท์ ในความเห็น 3 อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เวทนาเป็น
อัตตาของเรา’ เขาจะถูกซักถามว่า ‘ผู้มีอายุ เวทนามี 3 อย่าง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา 3 อย่างนี้ เธอเห็นเวทนาอย่าง
ไหนว่าเป็นอัตตา’
ในคราวที่อัตตาเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
คงเสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในคราวที่อัตตาเสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยสุข-
เวทนาและอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น ในคราวที่อัตตาเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยสุขเวทนาและทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุข-
เวทนาเท่านั้น
[123] อานนท์ แม้สุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิด
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา
มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุ
ปัจจัยเกิด มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป
เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิด มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า ‘นี้เป็นอัตตาของเรา’ เมื่อ
สุขเวทนานั้นดับ จึงมีความเห็นว่า ‘อัตตาของเราดับไปแล้ว’ เมื่อบุคคลเสวยทุกข-
เวทนา ย่อมมีความเห็นว่า ‘นี้เป็นอัตตาของเรา’ เมื่อทุกขเวทนานั้นดับ จึงมีความ
เห็นว่า ‘อัตตาของเราดับไปแล้ว’ เมื่อบุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความ
เห็นว่า ‘นี้เป็นอัตตาของเรา’ เมื่ออทุกขมสุขเวทนานั้นดับ จึงมีความเห็นว่า ‘อัตตา
ของเราดับไปแล้ว’
ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เวทนาเป็นอัตตาของเรา’ เมื่อเห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา
ย่อมเห็นอัตตา ไม่เที่ยง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และมีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ในปัจจุบัน เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
จึงยังไม่ควรที่จะเห็นว่า ‘เวทนาเป็นอัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :70 }